ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด |
นักวิจัย | : | พนัสดา สีมั่น |
คำค้น | : | สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด , การศึกษาขั้นมัธยม , การบริหารงานวิชาการ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746384082 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7721 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด จำนวน 76 สำนักงาน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด 76 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ฝ่ายพัฒนาวิชาการ 76 คน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาวิชาการ 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การวางแผนการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ 2) การดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ด้านพัฒนาวิชาการ 8 งาน คือ งานหลักสูตร งานพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและเอกสารทางวิชาการ งานติดตามและประเมินผลการศึกษา งานส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและศิลปวัฒนธรรม งานนันทนาการและการกีฬา งานวิจัย งานส่งเสริมกลุ่มโรงเรียนและศูนย์พัฒนาวิชาการ และงานพัฒนาบุคคลากร 3) การประเมินผลการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ผลการวิจัย พบว่า การบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ได้มี 1. การวางแผนการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดได้มีการกำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์การบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการไว้อย่างชัดเจน โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ฝ่ายพัฒนาวิชาการเป็นผู้พิจารณาร่วมกับตัวแทนจากกลุ่มโรงเรียน ศึกษานิเทศน์จังหวัดได้จัดให้มีการประชุมระดมพลังสมอง เพื่อให้ได้ความต้องการจำเป็นของฝ่าย และวางแผนงานพัฒนาวิชาการโดยวิธีจัดทำสายงานพัฒนาวิชาการและกำหนดหน้าที่ของบุคลากรในฝ่ายพัฒนาวิชาการ 2. การดำเนินการตามภารกิจด้านพัฒนาวิชาการ 8 งาน ส่วนใหญ่ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กรมสามัญศึกษากำหนดไว้ ยกเว้น งานวิจัยและการจัดทำธนาคารข้อสอบ มีการดำเนินการน้อยมาก 3. การประเมินผลการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ มีการกำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนและโครงการ ของฝ่ายพัฒนาวิชาการ โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ฝ่ายพัฒนาวิชาการ และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาวิชาการเป็นผู้ดำเนินการ โดยรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการทุกโครงการ และรายงานตามช่วงเวลาที่กำหนด 4. ปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การวางแผนงานและโครงการ งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะด้าน ขาดการนำผลจากการประเมินไปใช้ |
บรรณานุกรม | : |
พนัสดา สีมั่น . (2540). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนัสดา สีมั่น . 2540. "การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนัสดา สีมั่น . "การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. พนัสดา สีมั่น . การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านพัฒนาวิชาการ ของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|