ชื่อเรื่อง | : | ประสิทธิภาพของกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนในการกำจัดโคลิฟาจ ในน้ำดิบที่ปนเปื้อนโคลิฟาจและอีโคไล |
นักวิจัย | : | ณัฏฐพงศ์ เลิศปีติภัทร |
คำค้น | : | แบคทีเรีย , ไวรัส , น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไพพรรณ พรประภา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746371738 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7639 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 ศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดอีโคไล และโคลิฟาจ ออกจากน้ำด้วยเมมเบรนระบบอุลตราฟิลเตรชัน ชนิดเส้นใยกลวง ปัจจัยที่ศึกษาคือ อัตรากรอง และการล้างย้อน ขนาดช่องว่างของเมมเบรนมี 2 ขนาด คือ 0.1 และ 0.03 ไมครอน และเปลี่ยนอัตรากรองน้ำต่างๆ กัน ดังนี้คือ 0.5 ลิตร/นาที 1.0 ลิตร/นาที 1.5 ลิตร/นาที และ 2.0 ลิตร/นาที ตามลำดับ ตัวอย่างน้ำที่ใช้มี 3 ชนิดคือ น้ำประปาเติมอีโคไล น้ำประปาเติมโคลิฟาจ และน้ำประปาเติมอีโคไลและโคลิฟาจ การทดลองพบว่า เมมเบรนทั้งขนาด 0.1 และ 0.03 ไมครอน สามารถกำจัดอีโคไลได้ทั้งหมดสำหรับทุกอัตรากรอง ส่วนโคลิฟาจจะตรวจพบในน้ำกรองจากเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอนเท่านั้น โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 50-700 พีเอฟยู/มล. ส่วนน้ำกรองจากเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน ตรวจไม่พบโคลิฟาจสำหรับทุกอัตรากรอง โดยที่ประสิทธิภาพในการกำจัดอีโคไลของเมมเบรนทั้งสองมีค่าอยู่ระหว่าง 99.999998%-99.9999999% (7.7-9 ล็อก) ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจของแมมเบรนทั้งสองขนาด ในกรณีที่ตัวอย่างน้ำมีแต่โคลิฟาจจะมีค่าอยู่ระหว่าง 99.998%-99.9995% (4.8-5.3 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอน และมีค่ามากกว่า 99.99999% (7 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน ส่วนที่ตัวย่างน้ำมีทั้งอีโคไลและโคลิฟาจ ประสิทธิภาพในการกำจัดอีโคไลของเมมเบรนทั้งสองขนาดมีค่าอยู่ระหว่าง 99.999998%-99.9999998% (7.7-8.6 ล็อก) ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัด โคลิฟาจ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 99.994%-99.9997% (4.2-5.6 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอน และมีค่าอยู่ระหว่าง 99.99999%-99.999995% (6.9-7.3 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน โดยที่ประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจในทุกกรณีสามารถผ่านมาตรฐานของ SWTR ซึ่งกำหนดประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจอยู่ที่ 4 ล็อกเป็นอย่างต่ำ สำหรับเมมเบรนที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีค่าความต้านทานของเมมเบรน (Rm) เท่ากับ 1.3x1011m-1 สำหรับเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอน และมีค่าเท่ากับ 3.4x1011m-1 สำหรับเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน โดยมีค่าดัชนีความต้านทาน (RI) อยู่ในช่วง 0.54 ถึง 0.92 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การล้างย้อนไม่สามารถทำให้เมมเบรนคืนสภาพเดิมได้อย่างมีประสิทธภาพ |
บรรณานุกรม | : |
ณัฏฐพงศ์ เลิศปีติภัทร . (2540). ประสิทธิภาพของกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนในการกำจัดโคลิฟาจ ในน้ำดิบที่ปนเปื้อนโคลิฟาจและอีโคไล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏฐพงศ์ เลิศปีติภัทร . 2540. "ประสิทธิภาพของกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนในการกำจัดโคลิฟาจ ในน้ำดิบที่ปนเปื้อนโคลิฟาจและอีโคไล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณัฏฐพงศ์ เลิศปีติภัทร . "ประสิทธิภาพของกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนในการกำจัดโคลิฟาจ ในน้ำดิบที่ปนเปื้อนโคลิฟาจและอีโคไล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. ณัฏฐพงศ์ เลิศปีติภัทร . ประสิทธิภาพของกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนในการกำจัดโคลิฟาจ ในน้ำดิบที่ปนเปื้อนโคลิฟาจและอีโคไล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|