ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข |
นักวิจัย | : | ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ |
คำค้น | : | จริยธรรม -- การศึกษาและการสอน , การพยาบาล -- แง่ศีลธรรมจรรยา , การสอน , นักศึกษาพยาบาล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา , จินตนา ยูนิพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746382586 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7614 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 พัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ในการทดลองต้องการเปรียบเทียบความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายและจับคู่กลุ่มตัวอย่างที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับเดียวกันในกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ซึ่งวัด 3 ครั้ง ก่อนการทดลอง หลังสอนภาคทฤษฎี และหลังสอนภาคปฏิบัติ แบบสังเกตพฤติกรรมจริยธรรม ซึ่งได้รับการตรวจหาความตรงและความเที่ยงแล้ว และการบันทึกพฤติกรรมจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม ส่วนวิธีการสอนที่ใช้ได้แก่การกระจ่างค่านิยม การสืบสอบทางจริยธรรม การประชุมปรึกษาทางคลินิกและการเสนอกรณีศึกษา ซึ่งบูรณาการวิธีสอนทุกวิธีในการสอนวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1 โดยยึดหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล ในการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหาและจำแนกประเภท ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การสอนภาคทฤษฎี พบว่าคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรมภายหลังสอน ของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. การสอนภาคปฏิบัติ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรมภายหลังสอน ของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษากลุ่มทดลอง ก่อนการสอนและหลังการสอนภาคทฤษฎีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนเฉลี่ยความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรมก่อนการสอนภาคปฏิบัติ และหลังการสอนภาคปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมความตั้งใจกระทำพฤติกรรมจริยธรรม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมดีกว่ากลุ่มควบคุม |
บรรณานุกรม | : |
ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ . (2540). การพัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ . 2540. "การพัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ . "การพัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์ . การพัฒนารูปแบบการสอนบูรณาการเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|