ชื่อเรื่อง | : | รูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานต่อการรื้อปรับระบบของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
นักวิจัย | : | สินีนาฏ กำเนิดเพ็ชร์ |
คำค้น | : | ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร , การสื่อสารในองค์การ , การรื้อปรับระบบ , ทัศนคติ , การยอมรับนวัตกรรม , การเปิดรับข่าวสาร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จาระไน แกลโกศล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746354345 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7597 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 ศึกษารูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ การมีส่วนร่วม ปัจจัยแวดล้อมทางการสื่อสาร ความพร้อม การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ได้วิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ดังกล่าวว่ามีผลต่อการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,057 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของธนาคาร และนักวิชาการจำนวน 8 คน ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์โดยให้คำแนะนำและความเห็นคู่ขนานกับการวิเคราะห์แบบจำลองการสื่อสารที่สนับสนุนให้เกิดการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบ ผลการวิจัย พบว่า 1. พนักงานทั้ง 3 กลุ่ม มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการรื้อปรับระบบ แตกต่างกัน 2. พนักงานทั้ง 3 กลุ่ม มีความรู้เกี่ยวกับการรื้อปรับระบบ แตกต่างกัน 3. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจประเภทป้ายประกาศ วารสารภายในองค์การ และสื่อบุคคลประเภทเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาเรื่องการรื้อปรับระบบ เป็นความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำระหว่างตัวแปรในการเปิดรับข่าวสารจากวารสารภายในองค์การ, ข่าวสารการรื้อปรับระบบ ผู้บังคับบัญชา พนักงานในทีมการรื้อปรับระบบ เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาเรื่องการรื้อปรับระบบ เพื่อนร่วมงาน อาจารย์มหาวิทยาลัยและสมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับทัศนคติต่อการรื้อปรับระบบ และการมีส่วนร่วมในการรื้อปรับระบบปัจจัยแวดล้อมทางการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความพร้อมขององค์การ และการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับปัจจัยแวดล้อมทางการสื่อสาร 4. จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่ารูปแบบการสื่อสารที่ทำให้เกิดการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบ คือ AKUS |
บรรณานุกรม | : |
สินีนาฏ กำเนิดเพ็ชร์ . (2539). รูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานต่อการรื้อปรับระบบของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สินีนาฏ กำเนิดเพ็ชร์ . 2539. "รูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานต่อการรื้อปรับระบบของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สินีนาฏ กำเนิดเพ็ชร์ . "รูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานต่อการรื้อปรับระบบของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. สินีนาฏ กำเนิดเพ็ชร์ . รูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานต่อการรื้อปรับระบบของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|