ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของครูประถมศึกษา |
นักวิจัย | : | โศภิต พุฒขาว |
คำค้น | : | ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) , ครูประถมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อุทุมพร จามรมาน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2540 |
อ้างอิง | : | 9746390279 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7583 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 พัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของครูประถมศึกษาให้มีความเชื่อถือได้ แบบวัดความเหนื่อยหน่ายที่สร้างขึ้นมีรูปแบบการวัด 2 รูปแบบ คือ แบบตรวจสอบรายการจำนวน 7 ข้อ และแบบเลือกตอบ จำนวน 25 ข้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูประถมศึกษาในเขตการศึกษา 6 จำนวน 509 คน ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาคุณภาพของแบบวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดความเหนื่อยหน่ายมีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในของตอนที่ 1 แบบตรวจสอบรายการ และของตอนที่ 2 แบบเลือกตอบ มีค่าเท่ากับ .3024 และ .9415 ตามลำดับ 2. แบบวัดความเหนื่อยหน่ายมีความตรงเชิงจำแนก จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มผู้ตอบเหนื่อยหน่ายมาก และกลุ่มที่เหนื่อยหน่ายน้อยพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. แบบวัดความเหนื่อยหน่ายมีความตรงเชิงโครงสร้าง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบคือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ความอ่อนล้าทางร่างกาย ความรู้สึกตกต่ำ และความรู้สึกขัดแย้งจากงาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลการวัดความเหนื่อยหน่ายมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ |
บรรณานุกรม | : |
โศภิต พุฒขาว . (2540). การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของครูประถมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โศภิต พุฒขาว . 2540. "การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของครูประถมศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โศภิต พุฒขาว . "การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของครูประถมศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. Print. โศภิต พุฒขาว . การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของครูประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
|