ชื่อเรื่อง | : | การวัดสมบัติของพลาสมาที่เกิดภายในเครื่องทีตาพินช์ |
นักวิจัย | : | ไพรัช คำสิงห์ |
คำค้น | : | วิศวกรรมพลาสมา , กระแสไฟฟ้า , พลศาสตร์ของก๊าซ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | รัฐชาติ มงคลนาวิน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741428839 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7528 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ในงานวิจัยนี้ ได้มีการศึกษาสมบัติเครื่องทีตาพินซ์ กระบวนการเกิดพลาสมา และสมบัติของพลาสมาที่เกิด ขึ้นภายในเครื่องทีตาพินช์ ซึ่งเป็นตัวแปรพื้นฐานที่มีประโยชน์ในการพัฒนา และศึกษาเครื่องกำเนิด ปฏิกิริยาฟิวชันในอนาคต โดยในการศึกษาได้ใช้ขดลวดโรโกวสกี้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้า หัววัดทางไฟฟ้า และสเปกโตรมิเตอร์เพื่อใช้ในการหาค่าอุณหภูมิอิเล็กตรอน โดยผลที่ได้จากการทดลองได้ถูกนำไป เปรียบเทียบกับผลจากแบบจำลองทางทฤษฎี เพื่อให้เข้าใจกระบวนการเกิดพลาสมา และการเปลี่ยนแปลง ของพลาสมา จากการทดลองพบว่าเมื่อให้ความต่างศักย์ 20 กิโลโวลต์กับตัวเก็บประจุความจุสูง วัดกระแส ไฟฟ้าที่ไหลภายในเครื่องได้ 128 กิโลแอมป์ อุณหภูมิอิเล็กตรอนของอาร์กอนพลาสมา ออกซิเจนพลาสมา และไนโตรเจนพลาสมามีค่าประมาณ 2.67-2.80 อิเล็กตรอนโวลท์ 12.77-17.14 อิเล็กตรอนโวลท์ และ14.21-20.02 อิเล็กตรอนโวลท์ ตามลำดับที่ความดัน1-5 ปาสคาล ผลจากแบบจำลองทางทฤษฎีแสดงให้เห็นว่าเมื่อ มวลโมเลกุลของก๊าซหรือความดันมีค่ามาก ระยะทางการบีบตัวของพลาสมาและความเร็วของพลาสมา ลดลง ตามที่คาดไว้ |
บรรณานุกรม | : |
ไพรัช คำสิงห์ . (2548). การวัดสมบัติของพลาสมาที่เกิดภายในเครื่องทีตาพินช์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพรัช คำสิงห์ . 2548. "การวัดสมบัติของพลาสมาที่เกิดภายในเครื่องทีตาพินช์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพรัช คำสิงห์ . "การวัดสมบัติของพลาสมาที่เกิดภายในเครื่องทีตาพินช์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ไพรัช คำสิงห์ . การวัดสมบัติของพลาสมาที่เกิดภายในเครื่องทีตาพินช์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|