ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริเวณส่วนขยายบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
นักวิจัย | : | ภัทรพงษ์ แสนบุดดา |
คำค้น | : | ผังเมือง , เมือง -- การเจริญเติบโต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จารุวรรณ ลิมปเสนีย์ , ชัยศักดิ์ สุวรรณศิริกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 974147926 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7331 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาต่อจาการเคหะแห่งชาติในการเสนอแนะที่ตั้งที่เหมาะสมของเมืองบริวารกรุงเทพ ทั้ง 3 แห่งที่ได้เสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีในการจัดสร้างเมืองใหม่แห่งใหม่ ซึ่งได้แก่ ด้านทิศตะวันออก ด้านทิศตะวันตกด้านทิศเหนือ หรือศูนย์ส่วนขยายบางปะอินโดยได้เลือกพื้นที่ด้านทิศเหนือเป็นพื้นที่กรณีศึกษา เนื่องจากศูนย์ส่วนขยายบางปะอินเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่ง และยังมีระบบโครงข่ายคมนาคมที่หลากหลาย และมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท ความพร้อม ความต้องการองค์ประกอบเมืองบริวารในปัจจุบันพื้นที่ศูนย์ส่วนขยายบางปะอิน รวมถึงเป็นการศึกษาหาบทบาท รูปแบบโครงสร้างเมืองที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผังเมืองบริวารของกรุงเทพฯ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แนวทางคือ 1) การศึกษาความพร้อม ความต้องการ และบทบาทในปัจจุบันของศูนย์ส่วนขยายบางปะอิน โดยใช้แนวความคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักเมืองบริวารแนวความคิดความสมดุลระหว่างที่พักอาศัยและแหล่งงาน มาวิเคราะห์ด้วยการใช้เทคนิคสัดส่วนร้อยละ 2) การวิเคราะห์หาบทบาทและรูปแบบโครงสร้างเมืองที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ศูนย์ส่วนขยายบางปะอิน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม (SWOT Analysis) เพื่อหาศักยภาพและข้อจำกัดของพื้นที่ และใช้เทคนิควิเคราะห์แผนที่อาคารและสิ่งปลูกสร้างจากอดีตและปัจจุบัน (Built up area) เพื่อหาทิศทางการขยายตัวและรูปแบบโครงสร้างเมืองในปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของรูปแบบโครงสร้างเมือง มาทำการวิเคราะห์หารูปแบบโครงสร้างเมืองที่เหมาะสมของพื้นที่ ผลจากการวิจัยพบว่าศูนย์ส่วนขยายบางปะอินมีความพร้อมเป็นเมืองบริวารของกรุงเทพฯ โดยจากการศึกษาองค์ประกอบหลักเมืองบริวาร สรุปได้ว่าศูนย์ส่วนขยายบางปะอินมีระยะห่างจากเมืองหลักที่เหมาะสม สามารถเชื่อมต่อกับเมืองหลักได้สะดวก มีอัตราการเติบโตทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อย่างต่อเนื่อง มีการปกครองที่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อเมืองหลัก มีพื้นที่ว่างที่สามารถแบ่งแยกขอบเขตจากเมืองหลักที่ชัดเจน ชุมชนโดยรอบมีความพร้อมในการให้การพึ่งพาด้านเศรษฐกิจและสิ่งอำนวยความสะดวก ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง มีบทบาทในปัจจุบันเป็นแหล่งขยายตัวและรองรับที่อยู่อาศัยของประชากรในพื้นที่ข้างเคียง จากการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ พบว่าพื้นที่ศึกษามีบทบาทที่เหมาะสม 3 ประการคือ เป็นศูนย์กลางที่พักอาศัยเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าอุตสาหกรรมการผลิต เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีการผลิตของภาคกลางตอนบน และจากการวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างเมืองพบว่า ศูนย์ส่วนขยายบางปะอินมีการขยายตัวแบบตามยาวถนน (Linear pattern) มีรูปแบบโครงสร้างเมืองที่เหมาะสมคือ รูปแบบช่องตารางทิศทาง (Directional grid pattern) ซึ่งผลการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ สามารถนำมาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผังเมืองบริวารของกรุงเทพมหานคร โดยเสนอแนวทางเลือกของรูปแบบโครงสร้างเมือง องค์ประกอบเมืองที่เหมาะสม แนวคิดในการจัดการบริหาร การปกครองและองค์กรในการพัฒนาพื้นที่ และเสนอแนะมาตรการการพัฒนาพื้นที่ |
บรรณานุกรม | : |
ภัทรพงษ์ แสนบุดดา . (2548). แนวทางการพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริเวณส่วนขยายบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรพงษ์ แสนบุดดา . 2548. "แนวทางการพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริเวณส่วนขยายบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภัทรพงษ์ แสนบุดดา . "แนวทางการพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริเวณส่วนขยายบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ภัทรพงษ์ แสนบุดดา . แนวทางการพัฒนาเมืองบริวารกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริเวณส่วนขยายบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|