ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนาเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา |
นักวิจัย | : | กิจจา บานชื่น |
คำค้น | : | การฝึกอบรม -- การติดตามผล , วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง , ศิริชัย กาญจนวาสี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2539 |
อ้างอิง | : | 9746351389 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7323 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ในด้านการติดตามผลการเรียนรู้ การติดตามผลพฤติกรรม และการติดตามผลลัพธ์ที่มีต่อองค์การ และ (2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของเกณฑ์ และความเป็นไปได้ในการนำเกณฑ์ไปใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 22 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีหน้าที่ในการบริหารงานฝึกอบรมด้านการผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา จำนวน 6 คน (2) คณะกรรมการผู้จัดการฝึกอบรมด้านการผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา จำนวน 10 คน และ (3) อาจารย์ผู้สอนวิชาการผลิตรายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาจำนวน 6 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบเดลฟาย ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็น จำนวน 2 รอบ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 89 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยกำหนดว่า ข้อความที่เป็นเกณฑ์ ต้องมีค่ามัธยฐานเท่ากับ หรือมากกว่า 3.50 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เท่ากับหรือน้อยกว่า 1.50 ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในรอบสุดท้าย ทำให้ได้ข้อความที่เป็นเกณฑ์ จำนวน 65 ข้อ แยกเป็นเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา แต่ละด้านดังนี้ (1) เกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรม ด้านการเรียนรู้ จำนวน 40 ข้อ (2) เกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรม ด้านพฤติกรรม จำนวน 19 ข้อ (3) เกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรม ด้านผลลัพธ์ที่มีต่อองค์การ จำนวน 6 ข้อ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา จำนวน 5 คน ที่เคยจัดส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมด้านการผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา ทำการประเมินเกณฑ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อความที่ผ่านการยอมรับ ต้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือมากกว่า 3.50 ผลการประเมินพบว่า ข้อความทั้ง 65 ข้อ ผ่านการยอมรับจากผู้บริหารสถาบันการศึกษาว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ |
บรรณานุกรม | : |
กิจจา บานชื่น . (2539). การพัฒนาเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิจจา บานชื่น . 2539. "การพัฒนาเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิจจา บานชื่น . "การพัฒนาเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. Print. กิจจา บานชื่น . การพัฒนาเกณฑ์การติดตามผลการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539.
|