ชื่อเรื่อง | : | ผลกระทบของการรบกวนพื้นที่ป่าต่ออินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดินและการสะสมธาตุคาร์บอนบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน |
นักวิจัย | : | พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
คำค้น | : | การฟื้นฟูป่า , การอนุรักษ์ป่าไม้ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นันทนา คชเสนี , สมบัติ อยู่เมือง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745313459 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7181 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ในอดีตพื้นที่ป่าผลัดใบลุ่มน้ำย่อยน้ำว้าได้ถูกบุกรุกเพื่อประโยชน์ในทางการเกษตร ต่อมาชาวบ้านและองค์การบริหารส่วนตำบลไหล่น่านได้ร่วมมืออนุรักษ์พื้นที่ ทำให้พื้นที่ป่าแห่งนี้มีการทดแทนตามธรรมชาติเป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี แต่อย่างไรก็ตามผลจากการรบกวนพื้นที่ป่าย่อมส่งผลให้ลักษณะทางนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงไป จึงได้ศึกษาถึงผลกระทบของการรบกวนที่เกิดขึ้นต่อปริมาณอินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดิน (ไนโตรเจนรวม, ฟอสฟอรัสรวม, ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้) และการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน การศึกษาสังคมพืชโดยวิธีการสำรวจทางป่าไม้ซึ่งวัดขนาดต้นไม้ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก (DBH) ตั้งแต่ 5.0 ซม. ขึ้นไป และบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ของต้นไม้รายต้น ในพื้นที่ศึกษาขนาด 297.30 เฮกแตร์ ผลการสำรวจ พบต้นไม้จำนวน 272,023 ต้น จำแนกเป็น 39 วงศ์ 92 สกุล 125 ชนิด และไม่สามารถทำการจำแนกได้ 2 ชนิด ข้อมูลดังกล่าวได้นำไปสร้างฐานข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากนั้นทำการจำแนกพื้นที่ศึกษาตามระดับความรุนแรงของการรบกวน โดยใช้ข้อมูลการกระจายของช่วงชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกและรูปแบบการใช้พื้นที่ในอดีต โดยจำแนกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ รุนแรงมาก (สวนเกษตร) รุนแรง (ไร่ร้างที่มีการทดแทนประมาณ 15 ปี) ปานกลาง (มีการตัดต้นไม้ออกจำนวนมากและมีการทดแทนประมาณ 15 ปี) น้อย (มีการตัดต้นไม้ออกบางส่วน มีการทดแทนมากกว่า 15 ปี) และน้อยมาก (มีการตัดต้นไม้น้อยมาก) ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของระดับความรุนแรงของการรบกวนต่อโครงสร้างป่าและคุณสมบัติทางเคมีของดิน ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าในพื้นที่ที่มีการรบกวนรุนแรงมากมีค่าความหนาแน่น พื้นที่หน้าตัด มวลชีวภาพเหนือพื้นดินและการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินน้อยที่สุด และในพื้นที่ที่มีการรบกวนน้อยมีค่าดังกล่าวสูงที่สุดและจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าในแต่ระดับความรุนแรงของการรบกวนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ANOVA: P<0.05) ซึ่งสรุปได้ว่าพื้นที่ป่ายังไม่ฟื้นสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ แม้ระยะเวลาผ่านไป 15 ปี ภายใต้การทดแทนตามสภาพธรรมชาติ ขณะที่ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดินภายหลังการรบกวนที่ความลึก 2 ระดับ คือ 0-20 ซม. และ 20-40 ซม. พบว่า คุณสมบัติทางเคมีของดินส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างระดับความรุนแรงของการรบกวน และไม่มีความแตกต่างระหว่าง 2 ระดับความลึก ซึ่งอธิบายได้ว่า หลังจากการฟื้นตัวผ่านไป 15 ปี ปริมาณอินทรีวัตถุและธาตุอาหารในดินของพื้นที่ป่านี้มีการฟื้นสภาพ |
บรรณานุกรม | : |
พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา . (2547). ผลกระทบของการรบกวนพื้นที่ป่าต่ออินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดินและการสะสมธาตุคาร์บอนบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา . 2547. "ผลกระทบของการรบกวนพื้นที่ป่าต่ออินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดินและการสะสมธาตุคาร์บอนบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา . "ผลกระทบของการรบกวนพื้นที่ป่าต่ออินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดินและการสะสมธาตุคาร์บอนบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา . ผลกระทบของการรบกวนพื้นที่ป่าต่ออินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารในดินและการสะสมธาตุคาร์บอนบริเวณลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า จังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|