ชื่อเรื่อง | : | ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน |
นักวิจัย | : | สุชาดา ปุญปัน |
คำค้น | : | วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา , ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา , กรณีศึกษา , โรงเรียนประถมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา , สุชาดา บวรกิติวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741438559 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7142 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ศึกษา 1) การปฏิบัติที่ดีที่สุดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน 2) ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน และ 3) แนวทางพัฒนาให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา วิธีวิจัยเป็นแบบการวิจัยกรณีศึกษาของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดีที่สุด ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน แหล่งข้อมูลครอบคลุม ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสาร ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะศึกษากรณีศึกษา ระยะวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ ระยะตรวจสอบตัวบ่งชี้ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การปฏิบัติที่ดีที่สุดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานนั้น โรงเรียนมีแนวคิดหลักว่าการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานเน้นให้ ผู้เรียนค้นคว้าและสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต การบริหารจัดการของโรงเรียนต้องเป็นระบบที่สามารถบูรณาการงานพัฒนาบุคลากร งานพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศติดตามและงานจัดปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการสอนเริ่มจากการวางแผนแล้วดำเนินการสอนด้วย 6 ขั้นตอน มีการวัดประเมินผลทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ การบริหารจัดการที่ดี บุคลากรมีความพร้อม บริบทและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก 2. ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานแบ่งได้เป็น 3 ส่วน 9 องค์ประกอบ 56 ตัวบ่งชี้ คือ (1) ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินการจัดการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ คือ ก) ผลต่อนักเรียนมี 9 ตัวบ่งชี้ ข) ผลต่อครูมี 9 ตัวบ่งชี้ และ ค) ผลต่อการพัฒนาวิชาการมี 3 ตัวบ่งชี้ (2) ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการอสนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบคือ ก) กระบวนการสอนของครุมี 7 ตัวบ่งชี้ ข) กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนมี 7 ตัวบ่งชี้ และ ค) บทบาทครุมี 6 ตัวบ่งชี้ (3) ตัวบ่งชี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ คือ ก) การบริหารจัดการมี 6 ตัวบ่งชี้ ข) คุณลักษณะผู้สอนมี 6 ตัวบ่งชี้และ ค) คุณลักษณะผู้เรียนมี 3 ตัวบ่งชี้ 3. แนวทางพัฒนาให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาคือ (1) ควรดำเนินการสร้างทีมทำงานที่มีคุณสมบีติเอื้อต่อการทำงาน (2) สร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกฝ่าย ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง (3) สร้างระบบการทำงานที่มีคุณภาพ ด้วยวงจร P-D-C-A เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการต่อเนื่อง สร้างระบบข้อมูล เพื่อรวบรวมข้อมูลการทำงานของทุกฝ่าย และ (4) สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานด้วยวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอันทำให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการสร้างสรรค์งานและเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน |
บรรณานุกรม | : |
สุชาดา ปุญปัน . (2548). ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชาดา ปุญปัน . 2548. "ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุชาดา ปุญปัน . "ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. สุชาดา ปุญปัน . ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|