ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาฤทธิ์แก้ซึมเศร้า ฤทธิ์รักษาโรคจิต และกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องของแกมมาแมงโกสติน สารสกัดจากเปลือกมังคุด |
นักวิจัย | : | มนฤดี สุขมา |
คำค้น | : | Antidepressant-like effects , Garcinia mangostana , mangostin , Serotonin receptor antagonist , มังคุด , ฤทธิ์แก้ซึมเศร้า , สารต้านตัวรับเซโรโตนิน , แกมมาแมงโกสติน |
หน่วยงาน | : | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=MRG4880110 , http://research.trf.or.th/node/2118 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาฤทธิ์แก้ซึมเศร้า ฤทธิ์รักษาโรคจิต และกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องของแกมมาแมงโกสติน สารสกัดจากเปลือกมังคุดโดยใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสัตว์และศึกษาจาก mRNA expression ผลการศึกษาพบว่าเมื่อให้แกมมาแมงโกสติน 1-30 mg/kg ทางช่องท้อง สารไม่แสดงผลต่อ spontaneous locomotor activity และ 5-methoxy-N-N-dimethyltryptamine (5MeO-DMT)–induced head twitch response แต่เมื่อให้โดย intracerebroventricular injection พบว่าแกมมาแมงโกสติน 100 nmole/mice สามารถลด immobility time ใน Force Swim Test ลดจำนวนครั้งของการเกิด head twitch response จากการเหนี่ยวนำโดย 5MeO-DMT และต้าน meta-chlorophenylpiperazine (mCPP)-induced hypolocomotor activity แบบแปรผันตามขนาดยาที่ให้และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มทดลอง โดยไม่มีผลต่อ spontaneous locomotor activity, 5MeO-DMT–induced head waving response และ apomorphine-induced climbing เมื่อศึกษาผลของแกมมาแมงโกสตินต่อ serotonin2A, 2C receptor mRNA expression พบว่าแกมมาแมงโกสติน 0.1 µM เพิ่มการแสดงออกของ 5-HT2AR และมีแนวโน้มเพิ่มการแสดงออกของ 5-HT2CR mRNA โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลง -actin mRNA expression และ serotonin สามารถลดผลของแกมมาแมงโกสตินต่อการแสดงออกของ 5-HT2A/2CRs mRNA expression ได้ ผลจากการศึกษานี้แสดงว่าแกมมาแมงโกสตินมีฤทธิ์แก้ซึมเศร้า โดยฤทธิ์ดังกล่าวอาจสัมพันธ์กับการเป็น 5-HT2A/2CRs antagonist นอกจากนั้นยังพบว่าแกมมาแมงโกสติน 0.1 µM เพิ่มการแสดงออกของ histamine H1 receptor และ muscarinic M4 receptor แต่ไม่มีผลต่อการแสดงออกของ synaptotagmin mRNA ผลจากการศึกษานี้แสดงว่าแกมมาแมงโกสตินอาจออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ G-protein coupled receptors หรือยับยั้งการถ่ายโอนสัญญานของ G-protein coupled receptors In the present study, the antidepressant-like, antipsychotic activity and its related central serotonergic system of mangostin, a tetraoxygenated diprenylated xanthone contained in fruit hull of mangosteen were evaluated. When given intraperitoneally, mangostin (10-30 mg/kg) was not able to change the number of HTR induced by 5-methoxy-N-N-dimethyltryptamine (5MeO-DMT), a serotonin receptor agonist. Interestingly, mangostin (100 nmole) markedly attenuated HTR induced by 5MeO-DMT when administered via intracerebroventricular injection (i.c.v.). Furthermore, at the same dose, mangostin decreased the duration of immobility time in FST as well as attenuated mCPP-induced hypolocomotor activity. It had no effect on the spontaneous locomotor activity and did not exhibited inhibitory effect on 5MeO-DMT– induced head waving response and apomorphine-induced climbing. In mRNA expression study, mangostin significantly increased 5-HT2ARs mRNA expression and have trend to increased 5-HT2CRs mRNA expression. These up-regulations were reversed by co-administration with serotonin. These results provide support for the potential antidepressant-like effect of mangostin and the involvement of the serotonergic systems especially 5-HT2A/2CRs in the antidepressant-like effect of mangostin. In addition, these findings indicated that antagonistic effect of mangostin on 5-HT2A/2CRs might be related with transcription. For further experiment, effect of mangostin on other G-protein coupled receptors, histamine H1 receptor and muscarinic M4 receptor, mRNA expression were evaluated. We found that mangostin also induced H1 receptor and M4 receptor mRNA expression. These indicated that target of inhibitory effect of mangostin might be GPCRs or downstream signal transduction which results in homologous or heterologous mRNA up-regulation. |
บรรณานุกรม | : |
มนฤดี สุขมา . (2554). การศึกษาฤทธิ์แก้ซึมเศร้า ฤทธิ์รักษาโรคจิต และกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องของแกมมาแมงโกสติน สารสกัดจากเปลือกมังคุด.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. มนฤดี สุขมา . 2554. "การศึกษาฤทธิ์แก้ซึมเศร้า ฤทธิ์รักษาโรคจิต และกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องของแกมมาแมงโกสติน สารสกัดจากเปลือกมังคุด".
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. มนฤดี สุขมา . "การศึกษาฤทธิ์แก้ซึมเศร้า ฤทธิ์รักษาโรคจิต และกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องของแกมมาแมงโกสติน สารสกัดจากเปลือกมังคุด."
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2554. Print. มนฤดี สุขมา . การศึกษาฤทธิ์แก้ซึมเศร้า ฤทธิ์รักษาโรคจิต และกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องของแกมมาแมงโกสติน สารสกัดจากเปลือกมังคุด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2554.
|