ชื่อเรื่อง | : | อิทธิพลแบบปรับของประเภทของครูอาชีวศึกษาและบรรยากาศองค์กร ตามการรับรู้ที่มีต่อโมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ |
นักวิจัย | : | ฉัตรชนก สายสุวรรณ |
คำค้น | : | การศึกษาทางอาชีพ , การเรียนรู้องค์การ , การประเมินความต้องการจำเป็น , ลิสเรลโมเดล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวิมล ว่องวาณิช , วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745323659 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7092 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ศึกษา (1) ระดับของความต้องการจำเป็นระดับบุคคลด้านปัจจัยป้อนกระบวนการ และผลผลิตในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (2) โมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นด้านปัจจัยป้อน กระบวนการและผลผลิตในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (3) อิทธิพลแบบปรับโดยการศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุ ของความต้องการจำเป็นระดับบุคคลในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เมื่อประเภทของครูและการรับรู้บรรยากาศขององค์กรแตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูอาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 397 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยายและภาคสรุปอ้างอิง และการวิเคราะห์ LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้ (1) ครูอาจารย์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกรอาชีวศึกษา มีระดับของความต้องการจำเป็นระดับบุคคลด้านปัจจัยป้อน กระบวนการและผลผลิตที่นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยความต้องการจำเป็นระดับบุคคลด้านกระบวนการมีค่าสูงสุด รองลงมาคือด้านผลผลิตและด้านปัจจัยป้อน สำหรับตัวแปรในองค์ประกอบความต้องการจำเป็นระดับบุคคลด้านปัจจัยป้อน กระบวนการและผลผลิตที่มีค่าสูงสุดคือการมีความรอบรู้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพัฒนาการด้านวิชาชีพ (2) โมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคลด้านปัจจัยป้อน กระบวนการและผลผลิตในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์ = 4.16, องศาอิสระ = 14, ค่า P = .99, GFI = 1.00, AGFI = .99) (3) ผลการศึกษาอิทธิพลแบบปรับ โดยการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุ ของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้พบว่า ประเภทของครูและการรับรู้บรรยากาศองค์กรที่แตกต่างกัน ส่งอิทธิพลแบบปรับต่อโมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำให้โมเดลมีรูปแบบลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเดียวกัน แต่มีค่าพารามิเตอร์ของเมทริกซ์ อิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปรแฝงภายในและภายนอก พารามิเตอร์ของเมทริกซ์สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรแฝงภายในและภายนอก บนตัวแปรสังเกตได้หรือค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรภายใน และภายนอกสังเกตได้ไม่เท่ากัน |
บรรณานุกรม | : |
ฉัตรชนก สายสุวรรณ . (2548). อิทธิพลแบบปรับของประเภทของครูอาชีวศึกษาและบรรยากาศองค์กร ตามการรับรู้ที่มีต่อโมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรชนก สายสุวรรณ . 2548. "อิทธิพลแบบปรับของประเภทของครูอาชีวศึกษาและบรรยากาศองค์กร ตามการรับรู้ที่มีต่อโมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรชนก สายสุวรรณ . "อิทธิพลแบบปรับของประเภทของครูอาชีวศึกษาและบรรยากาศองค์กร ตามการรับรู้ที่มีต่อโมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ฉัตรชนก สายสุวรรณ . อิทธิพลแบบปรับของประเภทของครูอาชีวศึกษาและบรรยากาศองค์กร ตามการรับรู้ที่มีต่อโมเดลเชิงสาเหตุของความต้องการจำเป็นระดับบุคคล ในการนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|