ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี |
นักวิจัย | : | อารียา นะสานี |
คำค้น | : | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน , ปอเนาะ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741437757 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7045 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี ตัวอย่างประชากรคือครูวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 10 คน ที่ทำการสอนในปีการศึกษา 2547 และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ พบว่า ด้านการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ครูใช้ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติของนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 60 โดยกิจกรรมที่ครูใช้มากคือ การปฏิบัติการทดลอง คิดเป็นร้อยละ 18 ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้พบว่า ครูร้อยละ 100 ใช้สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ใบความรู้และใบงาน ประกอบการปฏิบัติทดลอง ครูเพียงร้อยละ 30 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ในด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูร้อยละ 100 ใช้วิธีการทดสอบด้วยแบบทดสอบปรนัย โดยครูเป็นผู้ทำการประเมิน ช่วงเวลาที่ทำการประเมินคือกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ครูเพียงร้อยละ 20 ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิค วิธีสอน ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ปัญหาที่พบมากคือ การขาดแคลนสื่อ วัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และงบประมาณในการจัดหาสื่อ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูขาดความรู้ในการพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผล ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนพบว่าครูส่วนใหญ่มีความสนใจในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 3. การแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ครูแก้ปัญหาโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง และการเข้ารับการอบรม ส่วนในด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ผู้บริหารแก้ปัญหาโดยการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็น และครูจัดหาสื่อบางประเภทด้วยตนเอง |
บรรณานุกรม | : |
อารียา นะสานี . (2548). การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารียา นะสานี . 2548. "การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อารียา นะสานี . "การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. อารียา นะสานี . การศึกษาสภาพ ปัญหาและการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|