ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เด็กหูหนวกโดยผ่านสื่อละครใบ้และสื่อละครใบ้ประกอบภาษามือ |
นักวิจัย | : | ทิตวัจน์ ณรงค์แสง |
คำค้น | : | เด็กหูหนวก , ละครใบ้ , โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม , ภาษามือ , การรับรู้ , การโน้มน้าวใจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จาระไน แกลโกศล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | 9743347909 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7010 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความรู้เรื่องโรคเอดส์และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวก ก่อนและหลังการชมละครใบ้และละครใบ้ประกอบภาษามือ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 120 คน ซึ่งเป็นนักเรียนหูหนวกระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนเศรษฐเสถียร และโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ ในรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimentation) ด้วยวิธี one-group Pretest-posttest design และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. นักเรียนหูหนวกกลุ่มที่ชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีความรู้เรื่องโรคเอดส์เพิ่มขึ้นแตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่ชมละครใบ้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. นักเรียนหูหนวกกลุ่มที่ชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ดีขึ้นแตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่ชมละครใบ้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อละครใบ้และละครใบ้ประกอบภาษามือ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ได้รับความรู้และความสนุกสนานจากสื่อที่ตนได้รับ โดยสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดี และส่วนใหญ่คิดว่ามีความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีขึ้น และคิดว่าสามารถอธิบายให้เพื่อนเข้าใจได้ หากมีการเผยแพร่ในครั้งต่อไป นักเรียนส่วนใหญ่สนใจที่จะรับสื่อทั้ง 2 ประเภทนี้อีก |
บรรณานุกรม | : |
ทิตวัจน์ ณรงค์แสง . (2542). การศึกษาเปรียบเทียบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เด็กหูหนวกโดยผ่านสื่อละครใบ้และสื่อละครใบ้ประกอบภาษามือ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิตวัจน์ ณรงค์แสง . 2542. "การศึกษาเปรียบเทียบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เด็กหูหนวกโดยผ่านสื่อละครใบ้และสื่อละครใบ้ประกอบภาษามือ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิตวัจน์ ณรงค์แสง . "การศึกษาเปรียบเทียบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เด็กหูหนวกโดยผ่านสื่อละครใบ้และสื่อละครใบ้ประกอบภาษามือ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542. Print. ทิตวัจน์ ณรงค์แสง . การศึกษาเปรียบเทียบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เด็กหูหนวกโดยผ่านสื่อละครใบ้และสื่อละครใบ้ประกอบภาษามือ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
|