ชื่อเรื่อง | : | การหาคุณลักษณะของโลหะผสมอะลูมิเนียม - เหล็ก ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม |
นักวิจัย | : | ทศพล ตรีรุจิราภาพงศ์ |
คำค้น | : | โลหะผสม , โลหะผสมอะลูมินัม-เหล็ก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ไสว ด่านชัยวิจิตร , ธาชาย เหลืองวรานันท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745328073 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7008 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 โลหะผสมอะลูมิเนียม-เหล็ก สัดส่วนผสม 1.0 2.5 และ 5.0 เปอร์เซ็นต์โดยอะตอมเหล็ก ถูกผลิตด้วยการอัดและอัดขึ้นรูป ซ้ำๆ ภายในแม่พิมพ์ปิด โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นผงเริ่มต้นผสมกัน กระบวนการใหม่นี้ทำสำเร็จในสภาวะของแข็ง และเรียกว่ากระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม เนื่องจากกระบวนการนี้ประยุกต์มาจากเทคโนโลยีโลหะผสมเชิงกล ภายหลังจากกระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม ที่ 800 รอบ ขนาดโครงผลึกของชิ้นงานโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม ลดลงจาก 4.0509 อังสตรอม สำหรับโลหะอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ เป็น 4.0480 4.0490 และ 4.0497 อังสตรอม สำหรับชิ้นงานที่ผสมเหล็ก 1.0 2.5 และ 5.0 เปอร์เซ็นต์โดยอะตอม ตามลำดับ ผลที่ได้แสดงว่าอะตอมเหล็กละลายเข้าไปในโครงผลึกอะลูมิเนียม ปริมาณของเหล็กที่ละลายในอะลูมิเนียม สามารถประมาณได้โดยเปรียบเทียบผลที่ได้กับกราฟต้นแบบของขนาดโครงผลึกสารละลายของแข็งอะลูมิเนียมและปริมาณเหล็ก การเปรียบเทียบชี้ให้เห็นว่าอะตอมเหล็กสามารถละลายเข้าไปในโครงผลึกอะลูมิเนียม เป็นปริมาณ 0.86 0.60 และ 0.27 เปอร์เซ็นต์โดยอะตอม สำหรับชิ้นงานโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวมที่ผสมเหล็ก 1.0 2.5 และ 5.0 เปอร์เซ็นต์โดยอะตอม ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อนชี้ให้เห็นว่าช่วงอุณหภูมิเริ่มเกิดสารประกอบเชิงโลหะ Al[subscript 13]Fe[subscript 4] คือ 383-413 องศาเซลเซียส ชิ้นงานโลหะผสมที่ผลิตขึ้นมาถูกนำไปอัดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีสปาร์กพลาสมาซินเทอริง และการตีขึ้นรูปร้อน เพื่อเปรียบเทียบสมบัติของชิ้นงานที่ได้ ผลการทดสอบความต้านแรงดึงของชิ้นงานสปาร์กพลาสมาซินเทอริงและชิ้นงานตีขึ้นรูปร้อน แสดงให้เห็นว่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดและเปอร์เซ็นต์การยืดตัวของชิ้นงานตีขึ้นรูปร้อน สูงกว่าชิ้นงานสปาร์กพลาสมาซินเทอริง ความแข็งจุลภาคของทั้งสองชิ้นงานพบว่าค่อนข้างต่ำ |
บรรณานุกรม | : |
ทศพล ตรีรุจิราภาพงศ์ . (2548). การหาคุณลักษณะของโลหะผสมอะลูมิเนียม - เหล็ก ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทศพล ตรีรุจิราภาพงศ์ . 2548. "การหาคุณลักษณะของโลหะผสมอะลูมิเนียม - เหล็ก ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทศพล ตรีรุจิราภาพงศ์ . "การหาคุณลักษณะของโลหะผสมอะลูมิเนียม - เหล็ก ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ทศพล ตรีรุจิราภาพงศ์ . การหาคุณลักษณะของโลหะผสมอะลูมิเนียม - เหล็ก ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตโลหะผสมเชิงกลแบบมวลรวม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|