ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาวิธีลดผลกระทบของเคอร์ในระบบสื่อสัญญาณแสงทางไกลที่ใช้การส่งแบบดีพีเอสเค |
นักวิจัย | : | พุทธรักษ์ ทิพชัชวาลวงศ์ |
คำค้น | : | การมัลติเพลกซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น , การสื่อสารด้วยแสง , วิทยาการเส้นใยนำแสง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พสุ แก้วปลั่ง , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745327433 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6884 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงผลของความผิดพลาดเฟสที่เหนี่ยวนำจาก Kerr effect และนำทฤษฎีที่ได้จากการศึกษามาประยุกต์ใช้กับการส่งสัญญาณแบบดีพีเอสเค (Differential-phase-shiff keying, DPSK) ทั้งรูปแบบการส่งช่องสัญญาณเดียวและการมัลติเพลกซ์ทางความยาวคลื่น แนวทางการวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการนำสัญญาณขนาดเล็กมอดูเลตไปพร้อมกับคลื่นพาห์โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะสังเกตความผิดพลาดเฟสที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์ความผิดพลาดเฟสจะแบ่งออกเป็นหลายช่วงสถาด้วยกันซึ่งในแต่ละช่วงสถานะจะเป็นการแสดงถึงอิทธิพลของเคอร์ที่แตกต่างกัน ในการทดสอบผลการศึกษาในทางทฤษฎีจะใช้วิธีการสร้างแบบจำลองการเดินทางสัญญาณที่มอดูเลตแบบดีพีเอสเคทางคอมพิวเตอร์ จากผลการศึกษาพบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดพลาดเฟสแบบไม่เชิงเส้นที่เกิดจากผลของเคอร์ เช่น Group-velocity dispersion (GVD) กำลังงานสัญญาณ ช่วงการชดเชย Dispersion และความห่างระหว่างช่องสัญญาณในกรณีการส่งสัญญาณแบบมัลติเพลกซ์ทางความยาวคลื่น ผลลัพธ์ที่ได้จากทั้งการศึกษาในทางทฤษฎีและการสร้างแบบจำลองแสดงถึงว่าเส้นใยแสงที่มีค่า GVD สูงกว่าจะส่งผลให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้น การเลือกกำลังงานสัญญาณให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้จะเป็นผลดีต่อสัญญาณ เพราะว่าผลของเคอร์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกำลังงานสัญญาณ ในทางทฤษฎีการกำหนดช่วงการชดเชย Dispersion ให้มีค่ามากจะทำให้ความผิดพลาดเฟสลดน้อยลงแต่ในทางปฏิบัติระบบที่มีช่วงการชดเชย Dispersion ยาวมากจะส่งผลให้เกิด Inter-symbol interference (ISI) มากไปกว่านั้นวัฏจักรหน้าที่ (Duty cycle) ของสัญญาณพลัส์ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการกำหนดคุณภาพสัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณแบบมัลติเพลกซ์หลายช่องสัญญาณ การกำหนดความห่างระหว่างช่องสัญญาณให้มีค่ามากจะทำให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้นเนื่องจากเป็นการลดผลของ Cross-phase modulation (XPM) โดยเฉพาะช่องสัญญาณที่อยู่ใกล้กัน ในภาพรวมแล้วผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างแบบจำลองจะสอดคล้องกับการวิเคราะห์ในทางทฤษฎี |
บรรณานุกรม | : |
พุทธรักษ์ ทิพชัชวาลวงศ์ . (2548). การศึกษาวิธีลดผลกระทบของเคอร์ในระบบสื่อสัญญาณแสงทางไกลที่ใช้การส่งแบบดีพีเอสเค.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พุทธรักษ์ ทิพชัชวาลวงศ์ . 2548. "การศึกษาวิธีลดผลกระทบของเคอร์ในระบบสื่อสัญญาณแสงทางไกลที่ใช้การส่งแบบดีพีเอสเค".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พุทธรักษ์ ทิพชัชวาลวงศ์ . "การศึกษาวิธีลดผลกระทบของเคอร์ในระบบสื่อสัญญาณแสงทางไกลที่ใช้การส่งแบบดีพีเอสเค."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. พุทธรักษ์ ทิพชัชวาลวงศ์ . การศึกษาวิธีลดผลกระทบของเคอร์ในระบบสื่อสัญญาณแสงทางไกลที่ใช้การส่งแบบดีพีเอสเค. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|