ชื่อเรื่อง | : | อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | จิตติมา ทมาภิรัต |
คำค้น | : | ชุมชนร่มเกล้า (กรุงเทพฯ) , กระดูกสันหลัง -- ปัจจัยเสี่ยง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745329657 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6831 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : กระดูกสันหลังหักพบมากที่สุดในการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนโดยเฉพาะในสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกอื่นๆหักตามมาและก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงตามมาอีกหลายอย่าง พบว่ามีเพียงไม่ถึง 1 ใน 3 ที่จะมาพบแพทย์ แต่การศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในแถบเอเชียมีน้อยมากรวมถึงในประเทศไทย วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป วิธีการทำวิจัย : คัดเลือกประชากร 323 คนจากการศึกษาปัญหาระยะยาวในประชากรอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปชื่อ CERB Project นำข้อมูลมาทำการศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆและเปรียบเทียบภาพถ่ายรังสีกระดูกสันหลัง 2 ครั้งห่างกัน 5 ปีเพื่อหาอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหัก การวินิจฉัยกระดูกสันหลังหักตามวิธีของ Black และคณะ ผลการวิจัย : เมื่อปรับตามประชากรไทยปี พ.ศ. 2540 พบว่าอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรโดยรวมเท่ากับร้อยละ 5.16 ต่อปี(อุบัติการณ์ในเพศชายเท่ากับร้อยละ 4.95 และในเพศหญิงเท่ากับร้อยละ 4.58) โดยที่ความชุกโดยรวมเท่ากับร้อยละ 33.46 (ความชุกในเพศชายเท่ากับร้อยละ 33.47 และในเพศหญิงเท่ากับร้อยละ 33.44) ในเพศหญิงการมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำ (คะแนนทีของความหนาแน่นกระดูกต่ำกว่า 1.61; RR 2.9 [1.3-6.3]) การมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 2.9 [1.4-6.2]) และ เป็นปัจจัยเสี่ยง ในขณะที่ในเพศชายการมีอายุมาก (ระดับอายุ 75-79 ปี; RR 5.6 [1.1-30.1]) และ การมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 3.94 [1.6-9.7]) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหัก เมื่อวิเคราะห์โดยให้ปัจจัยต่างๆ เป็นอิสระต่อกัน พบว่าในเพศหญิงการมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำ (คะแนนทีของความหนาแน่นกระดูกต่ำกว่า 1.61; RR 2.45 [1.1-5.4]) และการมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 2.49 [1.1-5.4]) และในเพศชายการมีอายุมาก (ระดับอายุ 75-79 ปี;RR 6.74 [1.1 43.5]) และ การมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 2.78 [1.0-8.1]) ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย : อุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหักที่สำคัญในเพศหญิงได้แก่การการมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำ ละการมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิมและในเพศชายได้แก่การมีการมีอายุมากและการมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่ออุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหัก |
บรรณานุกรม | : |
จิตติมา ทมาภิรัต . (2548). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตติมา ทมาภิรัต . 2548. "อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตติมา ทมาภิรัต . "อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. จิตติมา ทมาภิรัต . อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|