ชื่อเรื่อง | : | ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) |
นักวิจัย | : | กิตติพงษ์ เชี่ยวรุ่งโรจน์ |
คำค้น | : | ความเครียดในการทำงาน , ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) , พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน , ความเครียด (จิตวิทยา) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นันทิกา ทวิชาชาติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741438427 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6771 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ศึกษาความชุกของความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 403 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Sampling Technique แบ่งชั้นตาม เพศ ตำแหน่ง และชั้นบริการ จากนั้นใช้วิธี Simple Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบสอบถามวัดแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเบื่องาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบ t-test การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวน การเปรียบเทียบเชิงซ้อนโดยวิธีการของเชฟเฟ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของความเครียดจากการทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เท่ากับร้อยละ 21.1 ความชุกของภาวะเบื่องานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เท่ากับ ร้อยละ 8.5 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.01 ได้แก่ การมีบุคลิกภาพแบบ อารมณ์อ่อนไหว การมีโรคประจำตัว การใช้ยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.05 ได้แก่ รายได้ต่อเดือนรายได้ครอบครัวต่อเดือน ฐานะเศรษฐกิจที่พอใช้ และภาระครอบครัว ปัจจัยการปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.01 ได้แก่ ปริมาณงานที่รับผิดชอบเวลาที่ต้องเสียไปเนื่องจากอุปกรณ์ชำรุด ความมั่นคงของงาน การช่วยเหลือในการทำงาน สามารถปรึกษากับเพื่อนร่วมงานได้ ความช่วยเหลือที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชา การแสดงความคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชา ความยุติธรรมในการเลื่อนขั้นเงินเดือน นโยบายต่างๆ ของบริษัท วันหยุดที่ได้รับต่อเดือน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.05 ได้แก่ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้ในงาน ความเหมาะสมของตารางบิน ปัจจัยทางสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P<0.01 ได้แก่ การออกกำลังกาย ปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องาน ได่แก่ บุคลิกภาพ แบบอารมณ์อ่อนไหว ภาระหน้าที่ต่อครอบครัว การใช้ยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท โรคประจำตัว เหตุการณ์ชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และตำแหน่งงาน |
บรรณานุกรม | : |
กิตติพงษ์ เชี่ยวรุ่งโรจน์ . (2548). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน).
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิตติพงษ์ เชี่ยวรุ่งโรจน์ . 2548. "ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิตติพงษ์ เชี่ยวรุ่งโรจน์ . "ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. กิตติพงษ์ เชี่ยวรุ่งโรจน์ . ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานและภาวะเบื่องานในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|