ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนากระบวนการสำหรับการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟใช้แล้ว |
นักวิจัย | : | สุภาภรณ์ คางคำ |
คำค้น | : | การดูดซับ , โมเลกุลาร์ซีฟ , ซีโอไลต์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ , ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741422067 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6769 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ศึกษาการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟที่ใช้ในกระบวนการดูดซับคลอไรด์ออกจากเฮกเซน ซึ่งเป็นตัวทำละลายกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก การฟื้นฟูสภาพทำโดยการให้สัมผัสกับอากาศหรือแก๊สไนโตรเจน โดยมีการควบคุมอัตราการไหลเท่ากับ 3000 มล. ต่อนาที และอุณหภูมิในช่วง 300-600 ํC นาน 3 ชม. ภาวะที่เหมาะสมในการฟื้นฟูสภาพคือ การให้สัมผัสกับอากาศ ที่อุณหภูมิ 400 ํC เวลา 3 ชั่วโมง การฟื้นฟูสภาพโดยการให้ความร้อนในภาวะที่มีแต่ไนโตรเจน ไม่สามารพกำจัดโมเลกุลของตัวถูกดูดซับให้ออกจากโมเลกุลาร์ซีฟได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟ โดยการล้างด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนการเผาพบว่า การล้างด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอออน ที่เกาะติดอยู่ในโมเลกุลาร์ซีฟที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการเผา ทำให้การเผาไหม้เกิดได้ง่ายขึ้น ภายหลังการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟสามารถนำกลับไปใช้ในกระบวนการดูดซับได้ถึง 3 ครั้ง |
บรรณานุกรม | : |
สุภาภรณ์ คางคำ . (2548). การพัฒนากระบวนการสำหรับการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟใช้แล้ว.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภาภรณ์ คางคำ . 2548. "การพัฒนากระบวนการสำหรับการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟใช้แล้ว".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภาภรณ์ คางคำ . "การพัฒนากระบวนการสำหรับการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟใช้แล้ว."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. สุภาภรณ์ คางคำ . การพัฒนากระบวนการสำหรับการฟื้นฟูสภาพโมเลกุลาร์ซีฟใช้แล้ว. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|