ชื่อเรื่อง | : | ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด |
นักวิจัย | : | มาศอุบล วงศ์พรหมชัย |
คำค้น | : | เต้านม -- มะเร็ง -- การรักษา , เต้านม -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย , เคมีบำบัด , คุณภาพชีวิต |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุรีพร ธนศิลป์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741419724 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6700 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 ศึกษากลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยใช้แบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd et al. (2001) เป็นกรอบความคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี และศูนย์มหาวชิราลงกรณ์ จำนวน 150 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการซึมเศร้า แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบสอบถามกลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ (อาการปวด อาการนอนไม่หลับ อาการหนื่อล้า และอาการซึมเศร้า) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยวิธีของครอนบาคได้เท่ากับ .96, .95, .89, .93, .91, .25, .36, .32,และ .43, ตามลำดับ วิเคาะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาความสัมพันธ์โดยใข้สถิติ Eta ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด อยู่ในระดับ สูง( ค่าเฉลี่ย = 66.43, SD = 13.94) 2. จำนวนอาการมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่มีอาการเดียว มีคุณภาพชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.449, p<.05) 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .201, p<.05) 4. กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการปวด ได้แก่ การนอนพัก การนวด การรับประทานอาหาร กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ ได้แก่ การรับประทานยานอนหลับ และกลยุทธ์ในการจัดการกับอาการเหนื่อยล้า ได้แก่ การเข้านอนเร็ว การหากิจกรรมทำเพื่อให้ยุ่ง มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้นนมที่ได้รับเคมมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 5. กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการซึมเศร้า ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด |
บรรณานุกรม | : |
มาศอุบล วงศ์พรหมชัย . (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มาศอุบล วงศ์พรหมชัย . 2548. "ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มาศอุบล วงศ์พรหมชัย . "ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. มาศอุบล วงศ์พรหมชัย . ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการ กลยุทธ์ในการจัดการกับอาการ การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|