ชื่อเรื่อง | : | เจ็ดมหัศจรรย์ |
นักวิจัย | : | จิณณวัตร มั่นทรัพย์ |
คำค้น | : | เพลง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9745326313 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6690 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 บทประพันธ์เพลง เจ็ดมหัศจรรย์ ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงบทใหม่ในรูปแบบดนตรีพรรณนา การประพันธ์เพลงบทนี้ ผู้ประพันธ์ต้องการให้สื่อถึงปรัชญาและอารยธรรมของมนุษย์ซึ่งไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ได้ถูกถ่ายทอดผ่านสิ่งก่อสร้างซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดปรากฏอยู่ทุกมุมโลก สิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดที่เกี่ยวข้องกับบทประพันธ์เพลงนี้ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ในยุคใหม่ อันได้แก่ พระราชวังแวร์ซายส์ เทพีเสรีภาพ ตึกเอมไพร์สเตท หอไอเฟล สะพานโกลเด้นเกท ปราสาทนครวัด และทัชมาฮาล สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะสร้างในเวลาต่างกัน แต่ยังถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในยุคใหม่ ลักษณะโดยรวมของบทประพันธ์ เป็นบทประพันธ์สำหรับวงออร์เคสตราขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 24 นาที ประกอบไปด้วยโครงสร้างใหญ่ 7 ท่อน บทประพันธ์นี้มีลักษณะดนตรีเป็นแบบระบบโทนาลิตี บางส่วนใช้เทคนิคของดนตรีร่วมสมัยบ้าง เพื่อความเหมาะสมของบทประพันธ์เพลงและท่วงทำนองในการบรรยายเรื่องราว บางท่อนหยิบยืมทำนองเพลงที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นั้นๆ มาดัดแปลงและสอดแทรกใช้ในบทประพันธ์บทนี้ องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในบทประพันธ์เพลง ได้แก่ การเลือกใช้ทำนองหลักในแต่ละท่อน การใช้ขั้นคู่ ช่วงเสียง รวมไปถึงการประสานเสียงด้วยบันไดเสียงและโมดต่างๆ ตลอดจนการใช้กลุ่มจังหวะซ้อน ตามความเหมาะสมของเรื่องราว กลวิธีในการพัฒนาบทประพันธ์ ได้แก่ การยืดทำนอง การย่อส่วนทำนอง การซ้ำ การเลียน และซีเควนซ์ พื้นผิวของบทประพันธ์มีการใช้โฮโมโฟนี เฮเทโรโฟนี และ โพลีโฟนี ในส่วนของอัตราจังหวะมีทั้งอัตราจังหวะธรรมดา อัตราจังหวะผสมและอัตราจังหวะซ้อน |
บรรณานุกรม | : |
จิณณวัตร มั่นทรัพย์ . (2548). เจ็ดมหัศจรรย์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิณณวัตร มั่นทรัพย์ . 2548. "เจ็ดมหัศจรรย์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิณณวัตร มั่นทรัพย์ . "เจ็ดมหัศจรรย์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. จิณณวัตร มั่นทรัพย์ . เจ็ดมหัศจรรย์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|