ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการออกแบบตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและเสนาสนะในเขตสังฆาวาส : กรณีศึกษาพุทธมณฑล |
นักวิจัย | : | ศรัทธา เจริญรัตน์ |
คำค้น | : | สมเด็จพระสังฆราช , กุฏิ , สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา , ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี , ประชา แสงสายัณห์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741749902 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6653 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 สมเด็จพระสังฆราชถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้สถาปนาด้วยพระองค์เอง จึงทำให้ทรงต้องมีพระจริยวัตรและศาสนกิจต่างๆ ที่มากกว่าภิกษุสงฆ์ทั่วไป รวมไปถึงเครื่องใช้ต่างๆ ก็จะต้องแสดงออกถึงสมณศักดิ์ของพระองค์ด้วย โดยเฉพาะกุฏิอันเป็นที่ประทับพบว่ามีการสร้างให้มีรูปแบบที่มีความพิเศษกว่ากุฏิสงฆ์โดยทั่วไปและเรียกกุฏิเหล่านี้ว่า "ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งในงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกถึงฐานานุศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนอันได้รับการขัดเกลาสืบเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันภายใต้เงื่อนไขแห่งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องเป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลด้านเอกสารและข้อมูลจากการสำรวจรังวัดในสถานที่จริงเป็นหลัก โดยตำหนักสมเด็จพระสังฆราชที่ศึกษาจะเน้นเฉพาะที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ หลัง จาก ๙ วัด แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งจากการศึกษาพบว่าตำหนักแต่ละหลังต่างมีขนาดที่ใหญ่โตและมีการจัดผังที่ซับซ้อนกว่ากุฏิพระสงฆ์โดยทั่วไปอันเกิดจากความต้องการใช้งานที่มีมากตามตำแหน่งที่ได้รับ แต่ก็ยังคงยึดอยู่ในกรอบพระวินัยเป็นหลักทั้งขนาดของห้องบรรทม ความสูงของฝากั้นห้อง และรูปทรงของเรือนต่างๆ เป็นต้น ส่วนการประดับตกแต่งอาคารก็จะใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ฐานอาคาร บานประตูหน้าต่าง หน้าจั่วและหน้าบัน มาประกอบกันเพื่อให้อาคารมีลักษณะที่สำคัญกว่ากุฏิหลังอื่นๆ แต่จะไม่ตกแต่งให้เทียบเท่ากับอาคารในเขตพุทธาวาส หรือพระที่นั่งและตำหนักต่างๆ ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เลย อันถือเป็นการจัดลำดับฐานานุศักดิ์ของอาคารได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง |
บรรณานุกรม | : |
ศรัทธา เจริญรัตน์ . (2546). แนวทางการออกแบบตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและเสนาสนะในเขตสังฆาวาส : กรณีศึกษาพุทธมณฑล.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรัทธา เจริญรัตน์ . 2546. "แนวทางการออกแบบตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและเสนาสนะในเขตสังฆาวาส : กรณีศึกษาพุทธมณฑล".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรัทธา เจริญรัตน์ . "แนวทางการออกแบบตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและเสนาสนะในเขตสังฆาวาส : กรณีศึกษาพุทธมณฑล."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ศรัทธา เจริญรัตน์ . แนวทางการออกแบบตำหนักสมเด็จพระสังฆราชและเสนาสนะในเขตสังฆาวาส : กรณีศึกษาพุทธมณฑล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|