ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนา การตรวจสอบความตรง และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี |
นักวิจัย | : | บุรทิน ขำภิรัฐ |
คำค้น | : | คณบดี , ประสิทธิผลองค์การ -- การประเมิน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาดา บวรกิติวงศ์ , วรรณี แกมเกตุ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741424175 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6330 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 พัฒนา ตรวจสอบความตรง และทดสอบความไม่แปรเปลี่ยน ของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นคณบดีมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 3 แห่งจำนวน 20 คน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณาจารย์ 397 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 280 คนซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีช่วงพิสัยค่าความเที่ยงระหว่าง 0.585-0.962 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามด้วยโปรแกรม SPSS 13.0 for Windows การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL 8.53 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus3.13 องค์ประกอบประสิทธิผลความเป็นคณบดีวัดจากตัวบ่งชี้ 6 ตัวได้แก่ (1) การจัดการในหน่วยงาน (2) ความมีวิสัยทัศน์และการกำหนดเป้าหมาย (3) ทักษะการสื่อสาร (4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (5) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะวิชา และ (6) การส่งเสริมการวิจัย วิชาการ และบริการวิชาการแก่สังคม ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลความเป็นคณบดีตามการรับรู้ของคณาจารย์อยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกตัวบ่งชี้ ยกเว้นทักษะการสื่อสารที่อยู่ในระดับดี ขณะที่บุคลากรสายสนับสนุนรับรู้ว่ามีประสิทธิผลอยู้ในระดับดีทุกตัวบ่งชี้ ยกเว้นด้านการจัดการที่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ พบว่า ทั้งคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนรับรู้ว่า คณบดีมีประสิทธิผลด้านการส่งเสริมการวิจัย วิชาการและบริการวิชาการแก่สังคม ตลอดจนด้านทักษะการสื่อสารสูงกว่าด้านอื่นๆ เช่นเดียวกับที่รู้ว่ามีประสิทธิผลด้านการจัดการในหน่วยงานต่ำกว่าทุกๆ ด้านเช่นกัน (2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่อนข้างมาก (x [supercript]2 = 107.679,df = 80, x[superscript]2 / df = 1.346, CFI = 0.995, TLI = 0.993, RMSEA = 0.023, SRMR [subscript]B = 0.096, SRMR [subscript]w = 0.013) การวิจัยพบว่าตัวแปรระดับบุคคลที่ส่งผลต่อการรับรู้ประสิทธิผลความเป็นคณบดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนสัมพันธภาพระหว่างคณบดีกับผู้ร่วมงาน ผลการปฏิบัติงานของผู้ให้ข้อมูล และความเป็นรองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี ส่วนตัวแปรระดับคณะวิชาที่ส่งผลต่อการรับรู้ประสิทธิผลความเป็นคณบดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ความเป็นคณบดีเพศหญิงและประสิทธิผลของคณะวิชาเท่านั้น ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับบุคคลและระดับคณะวิชา สามารถอธิบายความแปรปรวนในประสิทธิผลความเป็นคณบดีได้ 79% และ 56% ตามลำดับ (3)ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดีระหว่างกลุ่มคณาจารยและบุคลากรสายสนับสนุนแสดงให้เห็นว่าโมเดลมีความแปรเปลี่ยนด้านรูปแบบและมีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกันโดยการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับตามกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้อาจประยุกต์ได้ไม่ดีนักกลับกลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน |
บรรณานุกรม | : |
บุรทิน ขำภิรัฐ . (2548). การพัฒนา การตรวจสอบความตรง และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุรทิน ขำภิรัฐ . 2548. "การพัฒนา การตรวจสอบความตรง และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุรทิน ขำภิรัฐ . "การพัฒนา การตรวจสอบความตรง และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. บุรทิน ขำภิรัฐ . การพัฒนา การตรวจสอบความตรง และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับประสิทธิผลความเป็นคณบดี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|