ชื่อเรื่อง | : | ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ |
นักวิจัย | : | ศรีสอางค์ แย้มศิริ |
คำค้น | : | สุรา , คนดื่มสุรา , จิตวิทยาสังคม , ความเครียด (จิตวิทยา) , การดื่มสุรา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741746105 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6283 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุรา และปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้อง ในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 938 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1. แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 2. แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test - 20 ; SPST-20) 3. แบบประเมินความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ (Sensation Seeking Scale ; SSS Form IV) และ 4. แบบสอบถามคัดกรองความผิดปกติจากการดื่มสุรา (The Alcohol Use Disorders Identification Test : AUDIT) สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสูงสุด, ค่าต่ำสุด, Chi-Square Test, Fisher's Exact Test และ Stepwise Multiple Regression Analysis วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 73 เพศหญิงร้อยละ 27 โดยส่วนมากมีอายุอยู่ในช่วงมากว่า 30 ปี ถึง 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.1 โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 33.2+- 7.15 ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ คิดเป็นร้อยละ 44.67 ผลการหาความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติจากการดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ เพศ, ระดับการศึกษา, ระบบการทำงาน, โรคทางจิตเวช, การสูบบุหรี่, ประวัติทางกฎหมาย, ความคิดเห็นต่อการดื่มสุรา เช่น ช่วยในการแก้ปัญหา ช่วยทำให้กล้าแสดงออก ดึงดูดเพศตรงข้าม และความจำเป็นที่ต้องมีในงานสังสรรค์ , พฤติกรรมการเคยดื่มสุรา, คนในครอบครัวที่เคยดื่มสุรา, คนในครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพจิต, สภาพแวดล้อมบริเวณที่พัก เช่น มีสถานที่จำหน่ายสุรา การที่เคยนั่งดื่มและเคยซื้อสุราที่ร้านค้า, การที่เพื่อนสนิทเคยชวนดื่มสุรา, ความรู้สึกสนใจเมื่อพบหรือได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับสุรา, การที่โฆษณาเกี่ยวกับสุราทำให้รู้สึกว่าสุราเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ดื่มได้ตามปกติ ไม่มีโทษต่อร่างกายและจิตใจ และ ความเครียดและความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ภูมิลำเนา, การมีงานอื่นที่ทำนอกจากงานประจำ และ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เมื่อนำตัวแปรต่างๆมาคัดเลือกโดยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุขั้นตอนพบว่า ตัวแปรที่ดีที่สุดที่ถูกเลือกเข้ามาโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ เพศ, การสูบบุหรี่, ประวัติทางกฎหมาย, โรคทางจิตเวช, คนในครอบครัวที่เคยมีปัญหาสุขภาพจิต, การใช้บริการนั่งดื่มและซื้อสุราที่ร้านค้าบริเวณที่พักอาศัย, จำนวนเพื่อนสนิทที่ดื่มสุรา, ปริมาณในการดื่มแต่ละครั้ง(ซีซี), ความคิดเห็นว่าตามงานเลี้ยงต้องมีสุรา, ความรู้สึกสนใจเมื่อได้พบเห็นหรือได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับสุรา ซึ่งตัวแปรเหล่านี้สามารถอธิบายการเกิดความผิดปกติจากการดื่มสุราได้ประมาณร้อยละ 64.8 และการไปใช้บริการนั่งดื่มสุราที่ร้านค้าบริเวณที่พักอาศัย สามารถอธิบายความผิดปกติจากการดื่มสุราได้มากที่สุด |
บรรณานุกรม | : |
ศรีสอางค์ แย้มศิริ . (2546). ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีสอางค์ แย้มศิริ . 2546. "ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศรีสอางค์ แย้มศิริ . "ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ศรีสอางค์ แย้มศิริ . ความชุกของความผิดปกติจากการดื่มสุราและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเบียร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|