ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก : รายงานการวิจัย |
นักวิจัย | : | สุวรรณา สุภิมารส , พันธิพา จันทวัฒน์ , นินนาท ชินประหัษฐ์ |
คำค้น | : | ผลไม้ -- ไทย -- แง่เศรษฐกิจ , ผลไม้ -- ไทย -- การเก็บและรักษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2528 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6305 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ผลไม้ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นสินค้าออกที่ทำเงินให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรสชาติดี มีหลายชนิดหมุนเวียนตลอดปี และไม่มีคู่แข่งในตลาดโลก แต่ตลาดสินค้าออกสำหรับผลไม้จากประเทศไทยยังประสบปัญหาอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะการเสื่อมเสียด้านคุณภาพ จึงควรมีการศึกษาเพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการที่จะทำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถควบคุมผลไม้ที่ส่งออกให้มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของลูกค้า โครงการวิจัยนี้ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผลไม้โดยตรง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลแต่ละชนิด และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตลาด รวมทั้งการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ศึกษาหาอัตราการหายใจ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและองค์ประกอบทางเคมี ศึกษาการเสื่อมเสียเนื่องจากความเย็นของผลไม้บางชนิด เป็นต้น ข้อมูลที่รวบรวมได้ชี้ให้เห็นว่าการเพาะปลูกผลไม้มีแหล่งกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาลผลิตของผลไม้แต่ละชนิดโดยเฉลี่ยจะนานประมาณ 1-2 เดือน โดยมีช่วงเวลาการผลิตแตกต่างกัน หมุนเวียนไปตลอดทั้งปี ผลไม้ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน กล้วย มะละกอ องุ่น และมะม่วง ประเทศผู้รับซื้อที่สำคัญเรียงตามลำดับ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยมูลค่าของการส่งออกในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า การใช้อุณหภูมิต่ำเก็บรักษาผลไม้อาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยรักษาคุณภาพได้ดีและง่าย แต่จะต้องใช้อุณหภูมิที่ไม่ต่ำจนทำให้เกิดการเสื่อมเสีย ซึ่งมีลักษณะอาการและอุณหภูมิที่ทำให้เกิดในผลไม้แต่ละชนิดแตกต่างกันไป และอาจใช้เทคนิคในการเก็บรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้ที่จะให้ผลดีที่สุดคือ ต้องมีการควบคุมคุณภาพให้ครบทุกขั้นตอนตั้งแต่ผู้เพาะปลูกจนถึงมือผู้บริโภค |
บรรณานุกรม | : |
สุวรรณา สุภิมารส , พันธิพา จันทวัฒน์ , นินนาท ชินประหัษฐ์ . (2528). การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก : รายงานการวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวรรณา สุภิมารส , พันธิพา จันทวัฒน์ , นินนาท ชินประหัษฐ์ . 2528. "การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก : รายงานการวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุวรรณา สุภิมารส , พันธิพา จันทวัฒน์ , นินนาท ชินประหัษฐ์ . "การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก : รายงานการวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528. Print. สุวรรณา สุภิมารส , พันธิพา จันทวัฒน์ , นินนาท ชินประหัษฐ์ . การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของผลไม้เพื่อการส่งออก : รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2528.
|