ชื่อเรื่อง | : | รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในช่วงปี พ.ศ. 2538-2545 |
นักวิจัย | : | สุมลทิพย์ ฟังกังวาลวงศ์ |
คำค้น | : | การจัดการสำนักงาน , สถาปัตยกรรม , สถาปนิก -- สมาคม |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อวยชัย วุฒิโฆสิต , ไตรวัฒน์ วิรยศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาิวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741734611 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6153 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 จากภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยถดถอยในช่วงปี พ.ศ. 2538-2540 ส่งผลให้สำนักงานสถาปนิกส่วนใหญ่ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านต่างๆ ที่มีผลในการบริหารจัดการสำนักงาน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนั้น เนื่องจากข้อจำกัดของรายรับที่ลดลง รวมทั้งการแข่งขันด้วยวิธีการต่างๆ ในวงการวิชาชีพด้วยกันเอง ทำให้สำนักงานที่ไม่มีการเตรียมพร้อมและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ต้องลดขนาดกิจการและหลายแห่งปิดกิจการลง จนในปัจจุบันเหลือสำนักงานไม่มากนักที่เปิดให้บริการ แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม ดังนั้นการบริหารจัดการสำนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากหากสำนักงานไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ดี องค์กรไม่มีเสถียรภาพและขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ย่อมทำให้สำนักงานไม่สามารถอยู่รอดในระยะยาวและพัฒนาต่อไปในอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิก เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกในสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดโครงสร้างองค์กรในแต่ละรูปแบบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการดำเนินงาน และการบริหารจัดการของสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนต่อไป วิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสถาปนิกแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มสำนักงานขนาดเล็ก บุคลากรน้อยกว่า 10 คน 2) กลุ่มสำนักงานขนาดกลาง บุคลากร 11-30 คน 3) กลุ่มสำนักงานขนาดใหญ่ บุคลากรมากกว่า 30 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ประกอบการวิเคราะห์และหาสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานในแต่ละกลุ่มและในกลุ่มเดียวกันเอง จะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนคติส่วนตัว วิธีการบริหารงานของผู้บริหารและประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพเป็นสำคัญ รวมทั้งลักษณะโครงการ กลุ่มลูกค้าและบุคลากร ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สำนักงานมีศักยภาพในการทำงาน ในด้านองค์กร จากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สำนักงานสถาปนิกทุกกลุ่มมีนโยบายที่จะขยายตัวอย่างมีขีดจำกัด และมีแนวโน้มจะมีขนาดเล็กลงในอนาคต โดยมีการใช้ระบบ Joint venture เข้ามาแทน รวมทั้งมีการใช้ระบบพนักงานแบบ Part Time และแบบ Contract เข้ามาช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำภายในสำนักงาน รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพื่อช่วยลดจำนวนบุคลากรลงในอนาคตด้วย ดังนั้นสำนักงานสถาปนิกทุกแห่ง ควรให้ความสำคัญและมีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานสำนักงานในด้านอื่นด้วย เพื่อให้สำนักงานสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง และตัวสถาปนิกเองควรมีการพัฒนาพื้นฐานด้านการบริหารจัดการ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมด้วย |
บรรณานุกรม | : |
สุมลทิพย์ ฟังกังวาลวงศ์ . (2546). รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในช่วงปี พ.ศ. 2538-2545.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุมลทิพย์ ฟังกังวาลวงศ์ . 2546. "รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในช่วงปี พ.ศ. 2538-2545".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุมลทิพย์ ฟังกังวาลวงศ์ . "รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในช่วงปี พ.ศ. 2538-2545."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สุมลทิพย์ ฟังกังวาลวงศ์ . รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในช่วงปี พ.ศ. 2538-2545. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|