ชื่อเรื่อง | : | การเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
นักวิจัย | : | ภิรมย์พร คำปินตา |
คำค้น | : | รัฐธรรมนูญ -- ไทย , ศาลรัฐธรรมนูญ -- ไทย , ศาลปกครอง -- ไทย , ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นันทวัฒน์ บรมานันท์ , บรรเจิด สิงคะเนติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741741529 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6111 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาปัญหาในการเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และกฎหรือข้อบังคับซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนด ขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง รวมทั้งขอบเขตของบทบัญญัติแห่งกฎหมายและกฎหรือข้อบังคับไว้อย่างชัดเจน จากความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติดังกล่าวได้เคยมีกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2543 ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับพิจารณาปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 198 ทั้งๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการควบคุมตรวจสอบกฎหมายลำดับรอง หรือควบคุมตรวจสอบองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า อำนาจหน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคือ อำนาจหน้าที่ในการเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับหรือการกระทำของบุคคลตามมาตรา 197 (1) ให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองพิจารณา ตามมาตรา 198 โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา สามารถเสนอบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ ก็เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงให้ประชาชนสามารถใช้ช่องทางดังกล่าว เสนอบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้อีกทางหนึ่ง การเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงแตกต่างกรณีการเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎ ข้อบังคับหรือการกระทำของบุคคล ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องส่งให้ศาลปกครองพิจารณา ซึ่งย่อมต้องเป็นกฎ ข้อบังคับหรือการกระทำ ของฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบ ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2543 จึงเท่ากับว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้เสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ของกฎหรือข้อบังคับโดยไม่ได้คำนึงว่ากฎหรือข้อบังคับนั้นออกโดยองค์กรใด แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ โดยที่ไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจควบคุมตรวจสอบกฎหมายลำดับรอง หรือควบคุมตรวจสอบองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำนาจของตนโดยปริยาย หากผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายึดถือคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นบรรทัดฐาน ในการดำเนินการตามมาตรา 198 ย่อมส่งผลให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหรือข้อบังคับได้ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง อันเป็นการดำเนินการที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 198 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น ในการดำเนินการตามมาตรา 198 ควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ อันจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากการดำเนินการตามมาตรา 198 |
บรรณานุกรม | : |
ภิรมย์พร คำปินตา . (2546). การเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภิรมย์พร คำปินตา . 2546. "การเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภิรมย์พร คำปินตา . "การเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ภิรมย์พร คำปินตา . การเสนอปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|