ชื่อเรื่อง | : | การเมืองไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจากสมัยเมืองคู่สู่สมัยราชอาณาจักร : กรณีศึกษาพัฒนาการของวังอยุธยาและต้นกรุงเทพฯ |
นักวิจัย | : | นพดล ปาละประเสริฐ |
คำค้น | : | ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงศรีอยุธยา , ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325- , ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา, 1893-2310 , ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325- |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุเนตร ชุตินธรานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741717377 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6081 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะวิวัฒน์มาสู่การเป็นรัฐอาณาจักร มีการรวมกลุ่มเมืองในระดับแคว้นปกครองแยกเป็นอิสระในลักษณะเมืองคู่ ได้แก่ สุพรรณภูมิ-แพรกศรีราชา กับละโว้-อโยธยา ช่วงเวลานี้ศูนย์กลางการปกครองแคว้นมีลักษณะเป็นวังในเวียง โดยวังเป็นที่ประทับและสถานที่ปกครองแคว้นขนาดเล็ก ตั้งอยู่ภายในเวียง อย่างเช่น เวียงเหล็กของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนครินทราชาธิราชทรงรวมกลุ่มเมืองคู่n ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างทั้งสองเข้าด้วยกันเกิดเป็นเอกภาพ และตามมาด้วยการปฏิรูปการปกครอง และจัดเมืองลูกหลวงให้อยู่ในระบบราชการด้วยการแต่งตั้งพระราชโอรส ในตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าและพระมหาอุปราช กับส่งเจ้านายขึ้นไปปกครองเมืองโดยเฉพาะเมืองพิษณุโลก อยุธยาจึงมีสภาพเป็นเมืองราชธานีหรือกรุงอันเป็นศูนย์กลางอำนาจปกครองที่มีเมืองต่างๆ อยู่ในอำนาจ วังอันเป็นที่ประทับและว่าราชการของพระมหากษัตริย์ จึงเป็นศูนย์กลางการปกครองมีลักษณะเป็นวังในกรุงหรือนครขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็นพระราชฐานชั้นนอก ชั้นกลางและชั้นใน และมีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในเขตพระราชฐาน เมื่อตกถึงรัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราชพระองค์ทรงยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง แต่มาสำเร็จเด็ดขาดลงในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ดังเห็นได้จากในรัชกาลนี้ได้มีการส่งขุนนางขึ้นมาปกครอง และพร้อมกันไปก็หยุดการส่งเจ้านายขึ้นไปปกครองหัวเมืองแต่ให้ประทับอยู่ในพระนคร จึงเกิดวังหน้าวังหลังขึ้นในราชธานีโดยเฉพาะวังหน้าเจ้านายที่ประทับ จะรั้งตำแหน่งพระมหาอุปราช นับแต่สมเด็จพระนเรศวรเป็นอย่างช้าที่ระบบราชการส่วนกลางมีขนาดใหญ่โตมากขึ้น จากการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ส่งผลให้ขุนนางเข้ามามีบทบาททางการเมืองสูง ทั้งเป็นฐานอำนาจให้การสนับสนุนเจ้าราชินิกูลบางพระองค์จนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้ จนในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ต้องเสริมสร้างพระราชวังด้วยการสร้างพระมหาปราสาท และขยายกำแพงวังออกไปเพื่อป้องกันการใช้กำลังแย่งชิงอำนาจ และเลี่ยงประทับอยู่ในกรุงศรีอยุธยาราชธานี สมเด็จพระนารายณ์ทรงสืบทอดนโยบายรักษาความปลอดภัยนั้น โดยโปรดฯ ให้สร้างวังที่เมืองลพบุรีเหมือนวังหลวงที่อยุธยาไว้ใช้เป็นที่หลบหลีกภัย และฐานอำนาจของพระองค์พร้อมกันไป และในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาทรงปรับใช้พระราชฐานชั้นในของวังหลวงด้านหลัง และกลับให้เป็นด้านหน้าเพื่อป้องกันการโจมตี และยกวังหน้าขึ้นเป็นกรมขนาดใหญ่คือเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และวังหลังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข เพื่อเป็นฐานอำนาจทางการเมืองในราชธานี โดยเฉพาะพระมหาอุปราชที่กำกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มีพระราชอิสริยยศ และมีวังใหญ่โตคล้ายวังหลวง จนเป็นเหตุให้วังหน้าสามารถท้าทายพระราชอำนาจได้ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศจึงทรงตั้งพระราชโอรสทรงกรมขนาดเล็ก และให้มีวังขนาดเล็กแทนการแต่งตั้งพระมหาอุปราชเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแย่งชิงอำนาจ จนปลายรัชกาลจึงทรงตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นพระมหาอุปราช และขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หลังจากนั้นก็ไม่มีการแต่งตั้งพระมหาอุปราชอีกเลย จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงตั้งวังหน้า วังหลัง และกรมเจ้านายขนาดเล็ก เพื่อทรงใช้เป็นกำลังพลในราชการสงครามมากกว่าเป็นฐานพระราชอำนาจ |
บรรณานุกรม | : |
นพดล ปาละประเสริฐ . (2545). การเมืองไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจากสมัยเมืองคู่สู่สมัยราชอาณาจักร : กรณีศึกษาพัฒนาการของวังอยุธยาและต้นกรุงเทพฯ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพดล ปาละประเสริฐ . 2545. "การเมืองไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจากสมัยเมืองคู่สู่สมัยราชอาณาจักร : กรณีศึกษาพัฒนาการของวังอยุธยาและต้นกรุงเทพฯ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพดล ปาละประเสริฐ . "การเมืองไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจากสมัยเมืองคู่สู่สมัยราชอาณาจักร : กรณีศึกษาพัฒนาการของวังอยุธยาและต้นกรุงเทพฯ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. นพดล ปาละประเสริฐ . การเมืองไทยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจากสมัยเมืองคู่สู่สมัยราชอาณาจักร : กรณีศึกษาพัฒนาการของวังอยุธยาและต้นกรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|