ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนามาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ปรเมศวร์ บุญยืน |
คำค้น | : | การประเมินหลักสูตร , หลักสูตร -- มาตรฐาน , เทคโนโลยีทางการศึกษา -- หลักสูตร -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง , พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741735049 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6022 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณณ์มหาวิทยาลัย, 2548 พัฒนามาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประกันคุณภาพหลักสูตร ด้านหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และด้านตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน รวม 6 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญ 60 คน ได้แก่ กรรมการบริหารหลักสูตร 18 คน อาจารย์ผู้สอน 16 คน นิสิตนักศึกษา 12 คน บุคลากรสายสนับสนุน 6 คน และผู้ประกอบการ 8 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ มาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยประกอบด้วย 10 มาตรฐาน และ 37 ตัวบ่งชี้คือ มาตรฐานที่ 1 วัตถูประสงค์ของหลักสูตร ตัวบ่งชี้คือ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมขอบข่ายของศาสตร์สาขาวิชา มาตรฐานที่ 2 โครงสร้างเนื้อหารายวิชา ตัวบ่งชี้คือมีการกำหนดเนื้อหารายวิชาที่จำเป็นในหมวดวิชาเอก มีกระบวนการปรับปรุงเนื้อหารายวิชา มาตรฐานที่ 3 กระบวนการเรียนการสอน ตัวบ่งชี้ คือมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน มีการใช้วิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน มีการสร้างปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียน มีการจัดการเรียนการสอนแบบดิจิทัลและแบบออนไลน์ มีการสร้างความร่วมมือทางการเรียนการสอนและการวิจัย มาตรฐานที่ 4 กิจกรรมเสริมหลักสูตร ตัวบ่งชี้คือ มีการจัดกิจกรรมเพื่อพ้ฒนาศักยภาพของผู้เรียน มีการจัดกิจกรรมเพื่อการบริการทางวิชาการ มีการจัดกิจกรรมเพื่อพ้ฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชา มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสิรมทักษะวิชาชีพ มาตรฐานที่ 5 การประเมินผลการเรียนการสอน ตัวบ่งชี้คือ มีกระบวนการประเมินผลการเรียนการสอนรายวิชา มาตรฐานที่ 6 อาจารย์บุคลากรสายสนับสนุน ตัวบ่งชี้คือ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่จบปริญญาเอกต่ออาจารย์ทั้งหมด มีการกำหนดจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ มีการกำหนดจำนวนและคุณวุฒิของบุคลากรสายสนับสนุน มีการหนดคุณสมบัติของบุคลากรสายสนับสนุน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุน มีการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน อาจารย์เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการ มีการพัฒนาทักษะของบุคลากรสายสนับสนุน มาตรฐานที่ 7 ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวบ่งชี้ คือ มีทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่จำเป็นและเพียงพอต่อการใช้งาน มีกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรสนับสนุนการเรียนการสอน มาตรฐาน8 คุณภาพบัณฑิต ตัวบ่งชี้ คือ มีการกำหนดเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของบัณฑิต บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในขอบข่ายเนื้อหาของศาสตร์สาขาวิชา บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ร้อยละของบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในขอบข่ายเนื้อหาของศาสตร์สาขาวิชา บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำต่อบัณฑิตทั้งหมด มาตรฐานที่ 9 คุณภาพวิทยานิพนธ์ ตัวบ่งชี้ คือ มีการกำหนดอัตราส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ต่อผู้เรียน มีการควบคุมคุณภาพวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระร้อยละของวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่อวิทยานิพนธ์ทั้งหมด มาตรฐาน 10 การบริหารจัดการหลักสูตรตัวบ่งชี้คือ มีการบริหารจัดการเก็บเข้าศึกษา มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา อัตราส่วนของอาจารย์ประจำต่อผู้เข้าศึกษามีการจัดสรรทุนสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย มีการจัดงบประมาณสนับสนุนการเรียนการสอน มีกระบวนการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร |
บรรณานุกรม | : |
ปรเมศวร์ บุญยืน . (2548). การพัฒนามาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรเมศวร์ บุญยืน . 2548. "การพัฒนามาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรเมศวร์ บุญยืน . "การพัฒนามาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ปรเมศวร์ บุญยืน . การพัฒนามาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|