ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ความหนาของเหล็กกล้าแผ่นบางจากการผลิตแบบรีดเย็น โดยกระบวนการแบบจำลองจากทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง |
นักวิจัย | : | เอกพจน์ ปัทมสัตยาสนธิ |
คำค้น | : | เหล็กกล้า , ทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง , การรีดเย็น |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ประสงค์ ศรีเจริญชัย , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743464492 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6008 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 งานวิจัยนี้ได้ศึกษาบทบาทของการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบการรีด ในแต่ละแท่นรีดอันได้แก่ รัศมีลูกรีด,ความหนาขาเข้า และความหนาขาออกของชิ้นงาน และความเร็วของชิ้นงานรีดต่อการเปลี่ยนแปลง ของความหนาสุดท้ายของชิ้นงานรีด การศึกษานี้ทำการศึกษากระบวนการรีดเย็นต่อเนื่องแบบ 5 แท่นรีดในภาวะการรีดแบบสถิตศาสตร์ โดยอาศัยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ จากทฤษฎีการรีดต่อเนื่องแบบสถิตศาสตร์ (Static Continuous Rolling Theory) การคำนวณองค์ประกอบการรีดที่จำเป็นในการคำนวณโดยแบบจำลองทำการคำนวณ โดย Classical Rolling Theory การศึกษานี้ทำการทดลองหาค่าคงที่ ซึ่งแสดงคุณสมบัติทางกลของขิ้นงานทดสอบ 2 การทดลองได้แก่การทดลองแบบ Plane Strain Compressive Test และการทดลองเพื่อหาค่า Derivative ของการเปลี่ยนแปลงระหว่างองค์ประกอบการรีดในแต่ละแท่นรีดที่จำเป็น ในแบบจำลองโดยอาศัยข้อมูลจากการทดลองจำลองกระบวนการรีดต่อเนื่อง ด้วยแท่นรีดเดี่ยวเพื่อทำการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบการคำนวณจนกว่าผลการคำนวณจากแบบจำลองสอดคล้องกับกระบวนการรีดจริง ผลการคำนวณโดยแบบจำลองการรีดต่อเนื่องพบว่า การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบการรีดต่างๆ มีแนวโน้มจะเกิดมากที่ตำแหน่งแท่นรีดที่ 1 ของระบบการรีดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับองค์ประกอบการรีดส่วนการเปลี่ยนแปลงของความหนาสุดท้าย ของชิ้นงานรีดนั้นเพิ่มขึ้นตามขนาดของรัศมีของลูกรีดในแต่ละแท่นรีด โดยรัศมีของแท่นรีดสุดท้ายในกระบวนการรีดต่อเนื่องมีบทบาทมากที่สุด ต่อการเปลี่ยนแปล การลดขนาดของชิ้นงานรีดที่แท่รีดที่ 4 กับแท่นรีดที่ 5 ของกระบวนการรีดทำให้การเปลี่ยนแปลงของความหนาสุดท้าย ของชิ้นงานรีดมีขนาดเล็กกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการลดขนาด ของชิ้นงานรีดที่ตำแหน่งแท่นรีดที่ 1 กับแท่านรีดที่ 2 ของกระบวนการรีด และการเพิ่มความเร็วของชิ้นงานรีดส่งผลให้การเปลี่ยนแปลง ของความหนาสุดท้ายของชิ้นงานมีขนาดลดลง |
บรรณานุกรม | : |
เอกพจน์ ปัทมสัตยาสนธิ . (2543). การวิเคราะห์ความหนาของเหล็กกล้าแผ่นบางจากการผลิตแบบรีดเย็น โดยกระบวนการแบบจำลองจากทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกพจน์ ปัทมสัตยาสนธิ . 2543. "การวิเคราะห์ความหนาของเหล็กกล้าแผ่นบางจากการผลิตแบบรีดเย็น โดยกระบวนการแบบจำลองจากทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกพจน์ ปัทมสัตยาสนธิ . "การวิเคราะห์ความหนาของเหล็กกล้าแผ่นบางจากการผลิตแบบรีดเย็น โดยกระบวนการแบบจำลองจากทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. เอกพจน์ ปัทมสัตยาสนธิ . การวิเคราะห์ความหนาของเหล็กกล้าแผ่นบางจากการผลิตแบบรีดเย็น โดยกระบวนการแบบจำลองจากทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|