ชื่อเรื่อง | : | ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 |
นักวิจัย | : | สุรภา ธีระวานิช |
คำค้น | : | นักเรียน -- สุขภาพและอนามัย , นักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย , เทคนิคเดลฟาย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741756909 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5992 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 สร้างดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้วิจัยรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขศึกษาหรือสุขภาพจำนวน 17 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจำนวน 3 รอบ แล้วคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพกายที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 14 ดัชนี ได้แก่ มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน มีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ มีการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรค ไม่เป็นเหา ไม่เป็นโรคผิวหนัง ไม่เป็นโรคคอพอก ไม่เป็นโรคโลหิตจาง ไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร มีการมองเห็นเป็นปกติ มีการได้ยินเป็นปกติ มีบุคลิกภาพที่ดี และมีความสนใจในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีสม่ำเสมอ 2. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพจิตที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 17 ดัชนี ได้แก่ มีพัฒนาการอารมณ์ตามวัย มีอารมณ์แจ่มใส มีการมองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีการตัดสินใจได้ถูกต้อง ไม่มีอารมณ์หวาดกลัว มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี มีระดับอารมณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นปกติ มีการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ มีเป้าหมายในชีวิต มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเอื้ออาทร มีความปรารถนาและยินดีเมื่อเพื่อนมีความสุข มีการให้อภัยความผิดพลาดของผู้อื่น มีความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว มีการยอมรับจุดดี จุดด้อยของตนเอง และมีการปรึกษาพ่อ แม่ ครู เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ 3. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพทางสังคมที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 19 ดัชนี ได้แก่ มีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น มีความกล้าในการแสดงออก มีความสุภาพไม่ก้าวร้าว มีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจ มีคุณธรรม มีค่านิยมทางสุขภาพที่พึงประสงค์ มีการปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสังคมได้ดี มีความรักเพื่อน รักโรงเรียนของตน มีการยอมรับจากเพื่อน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะการสื่อสารทางบวกในเรื่องสุขภาพ มีทักษะในการปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ มีความเคารพในสิทธิทางสุขภาพของผู้อื่น มีทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม มีความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน มีความรู้สึกรับผิดชอบสุขภาพชุมชน และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวมในเรื่องสุขภาพ |
บรรณานุกรม | : |
สุรภา ธีระวานิช . (2546). ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรภา ธีระวานิช . 2546. "ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรภา ธีระวานิช . "ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. สุรภา ธีระวานิช . ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|