ชื่อเรื่อง | : | ฟีนอลออกซีเดสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon |
นักวิจัย | : | ชัยชาญ ไตรศรีศิลป์ |
คำค้น | : | กุ้งกุลาดำ , ภูมิคุ้มกัน , การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน , ฟีนอลออกซีเดส |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต , ณรงค์ศักดิ์ พ่วงลาภ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741729111 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5917 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ฟีนอลออกซีเดสเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการป้องกันตนเอง ของสัตว์ในกลุ่มครัสเตเชียนและแมลง ฟีนอลออกซีเดสจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบฟีนอลเป็นควินโนน แล้วจึงเกิดกระบวนการโพลิเมอร์ไรเซชั่นเป็นเมลานิน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะมีการสร้างสารที่ยับยั้ง การเจริญของจุลินทรีย์ที่มารุกรานได้ ในปัจจุบันมีการนำค่าแอคติวิตีของฟีนอลออกซีเดส มาใช้เป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน การวัดแอคติวิตีของฟีนอลออกซีเดสทางเคมี ได้นำมาใช้ในสัตว์กลุ่มครัสเตเชียนหลายชนิด อย่างไรก็ตามในกรณีของกุ้งนั้น ปัญหาที่พบจากการวัดแอคติวิตีของฟีนอลออกซีเดสโดยวิธีดังกล่าวคือ ตัวอย่างที่ใช้สูญเสียแอคติวิตีได้ง่ายทำให้ผลที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ งานวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาวิธีการวัดแอคติวิตีของฟีนอลออกซีเดสในกุ้งกุลาดำ 3 วิธี ได้แก่ วิธีทางเคมี วิธีทางอิมมูนวิทยา และวิธีทางชีววิทยาโมเลกุล โดยวิธีทางเคมีใช้ L-dihydroxyphenyl alanine (L-DOPA )เป็นสับสเตรตซึ่งผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าบัฟเฟอร์ที่เหมาะสมที่สุด คือ CAC buffer ที่พีเอช 7-8 การเติมเอนไซม์ทริปซินจะให้ค่าแอคติวิตีของฟีนอลออกซีเดสสูงกว่าไม่มีการเติมทริปซิน 6 เท่า การเติมสาร 3-Methyl-2-Benzothiazolinone Hydrazone (MBTH) ลงไปในปฏิกิริยาจะช่วยเพิ่มความไวในการวัดได้ถึง 3.5 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีที่ไม่มีการเติม MBTH วิธีการตรวจฟีนอลออกซีเดสทางอิมมูนวิทยา ได้สร้างโพลีโคลนอลแอนติบอดีของฟีนอลออกซีเดส ซึ่งในการแยกฟีนอลออกซีเดสจากสารละลาย HLS โดยโพลีอะคริลาไมด์เจลอิเลคโตรโฟเรซิสแบบโปรตีนไม่สูญเสียสภาพธรรมชาติ และวิธี affinity chromatography ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากปริมาณโปรฟีนอลออกซีเดสที่แยกได้มีน้อย ไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ผลิตแอนติบอดี ดังนั้นจึงโคลนและชักนำให้เกิด การสังเคราะห์รีคอมบิแนนท์โปรฟีนอลออกซีเดสด้วยเวคเตอร์ pET17b ในแบคทีเรีย Escherichia coli สายพันธุ์ BL21(DE3)plysS นำรีคอมบิแนนท์โปรฟีนอลออกซิเดสไปสร้างแอนติบอดีโดยการฉีดเข้ากระต่าย เมื่อตรวจสอบด้วยวิธีเวสเทอร์นบลอท พบว่าแอนติบอดีที่ได้สามารถจับกับฟีนอลออกซีเดสจากกุ้งกุลาดำได้ สำหรับวิธีทางชีววิทยาโมเลกุลทำโดยเทคนิค semi-quantitative RT-PCR เพื่อตรวจหาระดับของการแสดงออกของยีนโปรฟีนอลออกซีเดส ในการศึกษาครั้งนี้นอกจากการพัฒนาวิธีการตรวจวัดฟีนอลออกซีเดสแล้ว ยังได้มีการนำวิธีการที่พัฒนาได้ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวไปทดสอบเบื้องต้น โดยนำไปวัดฟีนอลออกซีเดสในกุ้งกุลาดำปกติ และกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อ Vibrio harveyi ซึ่งผลที่ได้จากวิธีตรวจวัดทั้ง 3 แบบ ให้ผลสอดคล้องกัน |
บรรณานุกรม | : |
ชัยชาญ ไตรศรีศิลป์ . (2545). ฟีนอลออกซีเดสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชัยชาญ ไตรศรีศิลป์ . 2545. "ฟีนอลออกซีเดสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชัยชาญ ไตรศรีศิลป์ . "ฟีนอลออกซีเดสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ชัยชาญ ไตรศรีศิลป์ . ฟีนอลออกซีเดสที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|