ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์ |
นักวิจัย | : | สิทธา กองสาสนะ |
คำค้น | : | ศูนย์การค้าสยามสแควร์ , ศูนย์การค้า , การฟื้นฟูเมือง , การพัฒนาเมือง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วรรณศิลป์ พีรพันธุ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741731329 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5912 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศูนย์การค้าสยามสแควร์จัดเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม ซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองและชุมชนในด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากมีการใช้พื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมทั้งขาดแนวทางพัฒนาพื้นที่ในภาพรวมที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทาง และรูปแบบการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์ ด้วยกระบวนการออกแบบชุมชนเมือง (Urban design) เพื่อช่วยส่งเสริมศักยภาพ แก้ไขปัญหา และกำหนดบทบาท แนวโน้มของการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต โดยจะวิเคราะห์ลักษณะด้านกายภาพ ด้านกลุ่มผู้ใช้บริการและรูปแบบกิจกรรม ตลอดจนลักษณะการบริหาร และจัดการธุรกิจ เพื่อนำผลสรุปไปสร้างแนวทางฟื้นฟูสยามสแควร์ต่อไป แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ในครั้งนี้ ใช้แนวคิดการฟื้นฟูเมือง (Urban renewal) เป็นกรอบแนวคิดหลัก มีรายละเอียดข้อเสนอแนะครอบคลุม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านรูปแบบกิจกรรม สินค้าและบริการ และด้านการบริหารและจัดการธุรกิจ โดยด้านกายภาพแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1) รูปแบบการวางผัง เสนอให้รักษารูปแบบศูนย์การค้าเปิด เน้นการพัฒนาในแนวราบ ร่วมกับการเพิ่มการพัฒนาในแนวดิ่งในบริเวณที่เหมาะสม และให้มีการจัดกลุ่มกิจกรรมการใช้พื้นที่ (Zoning) ให้เป็นสัดส่วน 2) รูปแบบการใช้อาคาร เสนอให้รักษาอาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ปรับปรุงรูปลักษณ์อาคารเดิมที่เก็บไว้บางส่วน และสร้างอาคารใหม่ที่เหมาะสม 3) รูปแบบการสัญจร เสนอให้ปรับปรุงระบบสัญจรของพื้นที่ใหม่ โดยเน้นการเดินเท้าร่วมกับการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่าการใช้รถยนต์ 4) รูปแบบการใช้พื้นที่ภายนอกอาคาร เสนอให้ปรับปรุงคุณภาพพื้นที่เปิดโล่ง จัดระเบียบอุปกรณ์ประกอบถนนและระบบสาธารณูปโภคร่วมกัน สำหรับด้านรูปแบบกิจกรรม สินค้าและบริการ เสนอให้รักษารูปแบบเดิม และสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบทบาท และแนวโน้มการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต ส่วนด้านรูปแบบการบริหารและจัดการธุรกิจ เสนอให้จัดระบบบริหารและจัดการพื้นที่อย่างมืออาชีพ สร้างความร่วมมือและพันธมิตรทั้งภายนอกและในพื้นที่ รวมทั้งปรับปรุงการจัดเก็บผลประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมมากขึ้น นอกจากนั้นการศึกษาครั้งนี้ยังได้นำเสนอกรอบการดำเนินงาน และปฏิบัติการฟื้นฟูสยามสแควร์ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเบื้องต้น สำหรับการนำแนวทางฟื้นฟูพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ โดยจะประกอบไปด้วย รูปแบบการลงทุน การแบ่งส่วนงาน และช่วงเวลาปฏิบัติการ (Phasing) และการประเมินผลตอบแทนเบื้องต้นของโครงการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์ |
บรรณานุกรม | : |
สิทธา กองสาสนะ . (2545). แนวทางการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธา กองสาสนะ . 2545. "แนวทางการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สิทธา กองสาสนะ . "แนวทางการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. สิทธา กองสาสนะ . แนวทางการฟื้นฟูศูนย์การค้าสยามสแควร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|