ชื่อเรื่อง | : | การสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ปณิตา จิระภานุวัตน์ |
คำค้น | : | การพัฒนาเมือง , มนุษย์ -- กำเนิดและบรรพบุรุษ , มนุษย์ -- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม , นิเวศวิทยาเมือง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741717466 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5873 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาและสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาตัวชี้วัด เมืองน่าอยู่ในประเทศไทย การวิจัยเกิดจากการศึกษาแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง การศึกษาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ของหน่วยงานต่างๆ และการสร้างตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากเอกสารข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากแนวความคิดที่ว่า "เมืองเป็นผลจากการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัยของมนุษย์" ฉะนั้นการศึกษาเรื่องมนุษย์จึงเป็นประเด็นหลัก ในการสร้างกรอบความคิด ผลการศึกษาที่ได้จึงสามารถสรุปได้ว่า ความแตกต่างของความน่าอยู่ของแต่ละเมือง ขึ้นอยู่กับปัจจัยของการพัฒนาของมนุษย์ 3 ประการคือ 1 การพัฒนากายภาพ 2 สมอง และ 3 จิต เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีแหล่งหล่อหลอมที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวชี้วัดของเมืองแต่ละเมือง จึงมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป เป็นผลให้เกิดความแตกต่างของชุดตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ จากการรวมกลุ่มชน 5 ระดับ คือ 1 ปัจเจกบุคคล 2 ครอบครัว 3 ชุมชน 4 เมือง และ 5 ประเทศ ผลการวิจัยชี้ว่า ตัวชี้วัดของหน่วยงานต่างๆ เป็นการวัด "ผล" ของการพัฒนาเมืองไม่ใช่ระดับของการพัฒนามนุษย์ จึงทำให้ผลของการชี้วัดไม่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาเมืองได้ เนื่องจากไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ "เหตุ" หรับการนำชุดตัววัดที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ไปปรับใช้โดยหน่วยงานต่างๆ เช่นหน่วยงานท้องถิ่นสามารถทำได้ โดยเลือกใช้ตัวชี้วัดในระดับที่เหมาะสม และเมื่อนำผลการชี้วัดในระดับต่างๆ มาประมวลผลร่วมกันจะทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงของเมืองว่า อยู่ในด้านใดและระดับใด และสามารถนำผลการวิเคราะห์นี้ไปกำหนดนโยบาย การใช้งบประมาณ การสร้างโครงการพัฒนา รวมทั้งการวางกฎระเบียบ และแบบแผนที่เหมาะสมกับพื้นที่ในการนำไปสู่ "เมืองน่าอยู่" และ "ประเทศน่าอยู่" ในที่สุด |
บรรณานุกรม | : |
ปณิตา จิระภานุวัตน์ . (2545). การสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปณิตา จิระภานุวัตน์ . 2545. "การสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปณิตา จิระภานุวัตน์ . "การสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ปณิตา จิระภานุวัตน์ . การสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|