ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบความสามารถในการสรุปความ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน |
นักวิจัย | : | วิมล กระต่ายทอง |
คำค้น | : | การอ่าน , ความเข้าใจในการอ่าน , ภาษาไทย -- การอ่าน , นักเรียนมัธยมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กมลพร บัณฑิตยานนท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741303513 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5878 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การใช้กลวิธีการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทย และเปรียบเทียบความสามารถในการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครร ปีการศึกษา 2543 จำนวน 597 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการใช้กลวิธีการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทย ที่ผู้วิจัยได้ปรับปรุงมาจากกลวิธีการสรุปอิงความ ในการอ่านภาษาอังกฤษของ ลินดา ฟิลลิปส์ ริกกส์ (Linda Philips Riggs) และแบบสอบวัดความสามารถในการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทย ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทยที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้ 4 กลวิธีเรียงลำดับมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ กลวิธีการพิจารณาบริบทแวดล้อม กลวิธีการเลือกข้อสรุปจากทางเลือกที่หลากหลาย กลวิธีการเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ และกลวิธีการตั้งคำถาม ตามลำดับ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน มีความสามารถในการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 4 คู่ ได้แก่ 1) คะแนนความสามารถของนักเรียน กลุ่มที่ใช้กลวิธีการพิจารณาบริบทแวดล้อม กับคะแนนความสามารถของนักเรียน กลุ่มที่ใช้กลวิธีการเชื่อมโยงเข้ากับ ประสบการณ์ 2) คะแนนความสามารถของนักเรียน กลุ่มที่ใช้กลวิธีการพิจารณาบริบทแวดล้อม กับคะแนนความสามารถของนักเรียนกลุ่มที่ใช้กลวิธีการตั้งคำถาม 3) คะแนนความสามารถของนักเรียนกลุ่มที่ใช้ กลวิธีการเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ และ 4) คะแนนความสามารถของนักเรียนกลุ่มที่ใช้กลวิธี การเลือก ข้อสรุปจากทางเลือกที่หลากหลาย กับคะแนนความสามารถ ของนักเรียนกลุ่มที่ใช้กลวิธีการตั้งคำถาม 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน มีความสามารถในการสรุปอิงความในการอ่านภาษาไทยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 2 คู่ ได้แก่ 1) คะแนนความสามารถของนักเรียนกลุ่มที่ใช้กลวิธีการพิจารณาบริบทแวดล้อม กับคะแนนความสามารถของนักเรียนกลุ่มที่ใช้กลวิธีการเลือก ข้อสรุปจากทางเลือกที่หลากหลาย และ 2) คะแนนความสามารถของนักเรียนกลุ่มใช้กลวิธีการตั้งคำถาม |
บรรณานุกรม | : |
วิมล กระต่ายทอง . (2543). การเปรียบเทียบความสามารถในการสรุปความ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมล กระต่ายทอง . 2543. "การเปรียบเทียบความสามารถในการสรุปความ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิมล กระต่ายทอง . "การเปรียบเทียบความสามารถในการสรุปความ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. วิมล กระต่ายทอง . การเปรียบเทียบความสามารถในการสรุปความ ในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 5 ระหว่างกลุ่มที่ใช้กลวิธีการสรุปอิงความแตกต่างกัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|