ชื่อเรื่อง | : | ละครหลวงวิจิตร |
นักวิจัย | : | ฤดีชนก รพิพันธุ์ |
คำค้น | : | วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง, 2441-2505 , ละครร้อง , ละคร -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ผุสดี หลิมสกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741737319 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5625 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ศึกษาแนวคิด วิธีการจัดการแสดง และรูปแบบการแสดงละครปลุกใจรักชาติ ของหลวงวิจิตรวาทการ ตลอดจนวิเคราะห์ละครปลุกใจรักชาติเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี วิธีการวิจัยคือ การศึกษาเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ ในการแสดงละครหลวงวิจิตรในสมัยก่อน และการเรียนรู้ที่ได้รับถ่ายทอดจากศิษย์ของหลวงวิจิตรวาทการ จากการวิจัยพบว่า ละครปลุกใจรักชาติของหลวงวิจิตรวาทการ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนาม "ละครหลวงวิจิตร" คือ ละครที่มีเนื้อหาปลุกใจให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกรักชาติบ้านเมือง สร้างสามัคคีระหว่างคนในชาติ และยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประเทศชาติ "ละครหลวงวิจิตร" เกิดจากที่หลวงวิจิตรวาทการได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ในรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ท่านได้ใช้บทละครและเพลงแนวปลุกใจรักชาติเป็นสื่อ ในการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งนอกจากจะเป็นการสนุนกระแสทางการเมือง ที่แพร่หลายในขณะนั้นแล้ว หลวงวิจิตรวาทการยังเห็นว่า ความรักชาติจะสามารถช่วยสร้างสรรค์บ้านเมืองได้อีกทางหนึ่ง ละครหลวงวิจิตร เป็นละครที่เกิดจากบูรณาการความรู้ และประสบการณ์ของหลวงวิจิตรวาทการ ให้ปรากฏเป็นละครรูปแบบใหม่ในละครนาฏยศิลป์ไทย มีลักษณะพอสรุปได้คือ ในการเคลื่อนไหวของตัวละคร นอกจากจะเป็นไปตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการผสมผสานระหว่างท่ารำทางนาฎยศิลป์ กับท่ารำธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ท่า "กำแบ" ใช้ทั้งรำประกอบเพลงตามเนื้อเรื่องและรำสลับฉากเพื่อคั่นเวลาในการเปลี่ยนฉาก ซึ่งการจัดฉากก็เป็นไปตามความสมจริงตามเนื้อเรื่อง สำหรับการแต่งกายของตัวละคร ยืนเครื่องแบบละครไทย ผสมผสานกันการแต่งกายตามเชื้อชาติและแต่งแบบสามัญชน อนึ่งในการแสดงละครจะมีทั้งบทเจรจาและบทร้อง ซึ่งผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ร้องเพลงเองในฉาก และมีการร้องเพลงสลับฉาก (ร้องหน้าม่าน) ด้วย ส่วนดนตรีนั้น ใช้ทั้งวงดนตรีไทยและวงดุริยางค์สากลประกอบการแสดง จากการศึกษา "ละครหลวงวิจิตร" พบว่า ละครเรื่อง "เจ้าหญิงแสนหวี" เป็นตัวแทนละครของหลวงวิจิตรได้อย่างดียิ่ง เนื่องจากเป็นละครที่มีความสมบูรณ์ในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่อง ตลอดจนบทเพลงทั้งในเรื่อง และระบำสลับฉาก ที่มีทั้งความสนุกสนานรื่นเริง และเพลงที่บ่งบอกถึงความเสียสละในความรักระหว่าง เจ้าหญิงแสนหวีและเจ้าชายเขมรัฐ ที่ต้องสำนึกถึงความรับผิดชอบต่อชาติบ้านเมือง มากกว่าที่จะคำนึงถึงความสุขส่วนตัว และยังได้สอดแทรกการประลองดาบระหว่างเจ้าหญิงแสนหวีและเจ้าชายเขมรัฐ เพื่อให้เกิดความหลากหลายอีกทั้งละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีเป็นละครที่มีบทเพลงที่ไพเราะมากกว่าละครเรื่องอื่นๆจำต้องใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความยิ่งใหญ่ตระการตามากกว่าที่สุดในบรรดาละครหลวงวิจิตร เนื่องจากหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นทั้งผู้ประพันธ์ ผู้กำกับการแสดง ผู้ฝึกซ้อม ตลอดจนอำนวยการผลิตละครตั้งแต่ต้นจนจบ และได้เขียนกำกับไว้ในบทละครตั้งแต่ต้นจนจบและได้เขียนกำกับไว้ในบทละครอย่างละเอียด การจัดการแสดงละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีในระยะต่อมา จึงควรที่จะรักษารูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะเป็นการสืบทอดอัจฉริยะภาพของหลวงวิจิตรวาทการให้ปรากฎแล้ว ยังเป็นการรักษาเอกลักษณืของ"หลวงวิจิตร"ให้คงอยู่ในวงการนาฎศิลป์สืบไป |
บรรณานุกรม | : |
ฤดีชนก รพิพันธุ์ . (2546). ละครหลวงวิจิตร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฤดีชนก รพิพันธุ์ . 2546. "ละครหลวงวิจิตร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฤดีชนก รพิพันธุ์ . "ละครหลวงวิจิตร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ฤดีชนก รพิพันธุ์ . ละครหลวงวิจิตร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|