ชื่อเรื่อง | : | การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ |
นักวิจัย | : | กัลยา ไผ่เกาะ |
คำค้น | : | การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน , ผู้บริหารโรงเรียนพยาบาล , โรงเรียนพยาบาล -- การบริหาร |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ปองสิน วิเศษศิริ , ศิริเดช สุชีวะ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741748922 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5643 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 นำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 7 ขั้นตอนสำคัญคือ 1) การศึกษาวรรณกรรมและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2) การวิเคราะห์งาน 3) การกำหนดกรอบบทบาททางวิชาการ 4) การวัดบทบาททางวิชาการ 5) การสร้างรูปแบบ 6) การตรวจสอบรูปแบบ 7) การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสังเคราะห์ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล คณาจารย์วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม และผู้ทรงคุณวุฒิ ในการศึกษาบทบาททางวิชาการผู้วิจัยได้บทบาททางวิชาการ ตามขอบข่ายงานวิชาการ 9 งานคือ 1) งานบริหารหลักสูตร 2) งานบริหารการเรียนการสอน 3) งานด้านสื่อและห้องสมุด 4) งานนิเทศและพัฒนาคณาจารย์ 5) งานวัดและประเมินผลการเรียน 6) งานวิจัยและผลิตผลงานวิชาการ 7) งานบริการวิชาการแก่สังคม 8) งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ 9) งานประกันคุณภาพการศึกษา และได้บทบาททางวิชาการตามพฤติกรรมที่แสดงออกในการปฏิบัติ 7 บทบาทคือ 1) บทบาทเป็นผู้มีความคิดริเริ่มในงานวิชาการ 2) บทบาทเป็นผู้ปรับปรุงพัฒนางานวิชาการ 3) บทบาทเป็นผู้ให้การยอมรับและสนับสนุนงานวิชาการ 4) บทบาทเป็นผู้แนะนำและให้ความช่วยเหลืองานวิชาการ 5) บทบาทเป็นนักพูดในงานวิชาการ 6) บทบาทเป็นผู้ประสานงานในงานวิชาการ และ 7) บทบาททางสังคมในงานวิชาการ จากการวัดบทบาททางวิชาการทั้ง 7 บทบาทในระดับการปฏิบัติจริงและระดับความคาดหวัง เพื่อหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และค่าทดสอบทางสถิติด้วย paired t test พบว่า บทบาททางวิชาการของผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมทั้ง 7 บทบาท มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีการจัดลำดับบทบาททางวิชาการเรียงตามลำดับค่าความแตกต่าง ตามระดับการปฏิบัติงานและตามลำดับความสำคัญในการพัฒนา จากการค้นพบนี้ผู้วิจัยได้ยกร่างรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้านเนื้อหา และหลักการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการนำรูปแบบไปใช้โดยการสัมมนาผู้บริหารฝ่ายการศึกษาของกองทัพ และผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล หลักการสำคัญในการสร้างรูปแบบมี 6 หลักการคือ 1)หลักการของความยืดหยุ่น 2)หลัการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) หลักการพัฒนาขณะปฎิบัติงาน 4)หลักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5)หลักการการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และ 6)หลักการตรวจสอบประเมินผล รูปแบบที่พัฒนาได้ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่1)บทบาททางวิชาการที่ตอ้งพัฒนา ส่วนที่2)หลักการในการกำหนดรูปแบบและเป้าหมายของรูปแบบ ส่วนที่3)กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1)ขั้นการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (2)การพัฒนาความรู้และสมรรถนะของผู้นำในการบริหารตามขอบข่ายงานวิชาการ (3)การพัฒนาสมรรถนะผู้นำในด้านการบริหารการในสถานศึกษา 4)ขั้นการฝึกปฏิบัติ 5)ขั้นการประเมินผล ส่วนที่4)แนวทางการนำรูปแบบไปใช้และเงื่อนไขของรูปแบบ ควรทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับรูปแบบให้ถ่องแท้ก่อนนำไปใช้ |
บรรณานุกรม | : |
กัลยา ไผ่เกาะ . (2546). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กัลยา ไผ่เกาะ . 2546. "การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กัลยา ไผ่เกาะ . "การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. กัลยา ไผ่เกาะ . การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหมด้านบทบาททางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|