ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ : กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 |
นักวิจัย | : | อธินันท์ โสภาพงศ์ |
คำค้น | : | แสงธรรมชาติ , การส่องสว่างภายใน , อาคาร -- การส่องสว่าง , สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , พรรณชลัท สุริโยธิน , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743466142 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5516 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 เป็นอาคารกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นอาคารที่มีการเปิดใช้งานตลอด 24 ชม. ขนาดพื้นที่ตลอดจนสภาพแวดล้อมของอาคารมีความเหมาะสมทำให้สะดวกต่อการทำวิจัย ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการสำรวจ ประเมินผลและวิเคราะห์อาคารกรณีศึกษาเพื่อศึกษาปัญหาในเรื่องการใช้แสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ภายในอาคาร เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางเลือกในการปรับปรุง จากการสำรวจพบว่า หลังคาและที่จอดรถรับ-ส่ง ขนาดใหญ่ที่บริเวณชั้น 2 ทางด้านทิศตะวันออก เป็นอุปสรรค์ต่อการส่งผ่านของแสงธรรมชาติสู่ภายในอาคาร การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารไม่สอดคล้องกับตำแหน่งช่องเปิด และช่องแสงด้านบนของอาคารซึ่งเป็นกระจกสีชามีปริมาณแสงสว่างและความร้อนที่มากับแสงสว่างมากจนเกินไปทำให้ต้องมีการติดตั้งแผ่นกรองไว้ใต้ช่องเปิด ซึ่งทำให้ปริมาณความส่องสว่างที่วัดได้ภายในอาคารมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดจึงจำเป็นต้องใช้แสงประดิษฐ์เสริมตลอดเวลา ดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงอาคารจึงมุ่งพิจารณาการนำแสงธรรมชาติมาทดแทนแสงประดิษฐ์ โดยการนำเสนอ 3 แนวทาง คือ การปรับปรุงช่องแสงด้านบน การเจาะช่องเปิดเพิ่มที่ผนังอาคารชั้นลอยและการใช้หิ้งสะท้อนแสงที่สำนักงานชั้น 3 ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการปรับปรุงช่องแสงด้านบนจากช่องแสงกระจกสีชาเป็นหลังคาฟันเลื่อยทึบแสงที่มีช่องเปิดด้านบน 15% สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 220,880.98 กิโลวัตต์ต่อปี โดยที่ 81.37% ของพลังงานที่ลดได้มาจากภาระการทำความเย็นที่ลดลงจากการเปลี่ยนรูปแบบหลัง สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 595,695.87 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 1.24 ปี แนวทางการเจาะช่องเปิดเพิ่มที่ผนังอาคารชั้นลอย สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 41,929.84 กิโลวัตต์ต่อปี สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 123,472.26 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 4.32 ปี แนวทางการเพิ่มหิ้งสะท้อนแสงที่มีค่าการสะท้อน 80% สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 19,014.55 กิโลวัตต์ต่อปี สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 68,578.92 บาทต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุน 3.04 ปี และจากการนำแนวทางการปรับปรุงที่ดีที่สุดจากทั้ง 3 แนวทางมาใช้ร่วมกันคือ การปรับปรุงช่องแสงด้านบนเป็นหลังคาฟันเลื่อยที่มีช่องเปิด 15% การเจาะช่องเปิดเพิ่มที่ผนังอาคารชั้นลอย ร่วมกับการใช้หิ้งสะท้อนแสงที่มีค่าการสะท้อน 80% สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 281,825.37 กิโลวัตต์ ต่อปี สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 787, 747, .05 บาทต่อปี โดยมีระยะเวลาคืนทุน 1.83 ปี |
บรรณานุกรม | : |
อธินันท์ โสภาพงศ์ . (2543). แนวทางการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ : กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อธินันท์ โสภาพงศ์ . 2543. "แนวทางการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ : กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อธินันท์ โสภาพงศ์ . "แนวทางการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ : กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. อธินันท์ โสภาพงศ์ . แนวทางการนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารสถานีขนส่งเพื่อลดการใช้แสงประดิษฐ์ : กรณีศึกษา สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|