ชื่อเรื่อง | : | ความคิดเห็นต่อการเลือกสถานพยาบาลตามโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองของประชาชน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า |
นักวิจัย | : | ธนพร สุดยอดสุข |
คำค้น | : | สถานพยาบาล , ประกันสุขภาพ , โรงพยาบาล , ประเวศ (กรุงเทพฯ) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อานนท์ วรยิ่งยง , จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741745087 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5717 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคิดเห็น การรับรู้ และความเข้าใจ ต่อการให้สิทธิในการเลือกสถานพยาบาล สถานพยาบาลที่เปิดโอกาสให้เลือก และการได้เลือกสถานพยาบาลของประชาชน ตามโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ศึกษาในช่วง ธันวาคม 2546 กุมภาพันธ์ 2547 โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 794 ฉบับ ส่งไปยังครัวเรือนที่มีบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ได้รับแบบสอบถามตอบกลับทั้งหมด 545 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 72.4 ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (52.4%) มีอายุเฉลี่ย 42 ปี จบระดับประถมศึกษา (47.7%) มีอาชีพรับจ้าง (67.4%) สถานการเงินพอกินพอใช้ ไม่เหลือเก็บ (58.8%) ผู้ตอบมีสิทธิในการรักษาพยาบาลเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท) (93.9%) บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ยกเว้นค่าธรรมเนียม) (6.1%) สถานพยาบาลที่เดินทางได้สะดวกและใกล้บ้านมากที่สุด คือ โรงพยาบาลรัฐ (32.7%) เมื่อมีโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง พบว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์ก่อนการเลือกสถานพยาบาล (41.0%) และไม่ทราบสิทธิในการเลือกสถานพยาบาล (61.4%) แต่พบกลุ่มตัวอย่างทราบว่า สามารถเลือกสถานพยาบาลได้ตามแขวงที่ตนอาศัยอยู่ เลือกสถานพยาบาลหลักที่เป็นโรงพยาบาล และ เลือกสถานพยาบาลรองที่เป็นศูนย์บริการสาธารณสุขหรือคลินิก (70.4%, 74.2%, 66.1% ตามลำดับ) ความคิดเห็นของประชาชนเห็นด้วยมาก ที่รัฐเปิดโอกาสให้เลือกสถานพยาบาล ให้เลือกสถานพยาบาลได้ทั้งสถานพยาบาลหลัก และสถานพยาบาลรอง สถานพยาบาลที่เปิดโอกาสให้เลือกได้มาตรฐานตรงกับความต้องการ (89.6%, 90.0%, 82.6%ตามลำดับ) ส่วนเหตุผลที่เลือกสถานพยาบาลเพราะเคยไปใช้บริการแล้วพอใจ (46.2%) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า จำนวนครัวเรือนมากกว่าครึ่ง ไม่รู้สิทธิในการเลือกสถานพยาบาล และเห็นด้วยมากกว่าครึ่ง ที่มีโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการสะท้อนภาพรวมของการบริการด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งต้องเร่งรัดพัฒนาการบริการมากยิ่งขึ้น ตลอดจนวางแผน กำกับ ประเมินผล โดยประเมินผลต่อเนื่อง |
บรรณานุกรม | : |
ธนพร สุดยอดสุข . (2546). ความคิดเห็นต่อการเลือกสถานพยาบาลตามโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองของประชาชน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนพร สุดยอดสุข . 2546. "ความคิดเห็นต่อการเลือกสถานพยาบาลตามโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองของประชาชน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนพร สุดยอดสุข . "ความคิดเห็นต่อการเลือกสถานพยาบาลตามโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองของประชาชน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ธนพร สุดยอดสุข . ความคิดเห็นต่อการเลือกสถานพยาบาลตามโครงการนำร่องเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเองของประชาชน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|