ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา |
นักวิจัย | : | ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ |
คำค้น | : | การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- พัทยา (ชลบุรี) , อาคารชุด -- ไทย -- พัทยา (ชลบุรี) , ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ , เมือง -- การเจริญเติบโต , พัทยา (ชลบุรี) |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดุษฎี ชาญลิขิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741750692 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5584 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 ประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการหาทำเลที่ตั้งอาคารชุด โดยคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการสนับสนุนการใช้ที่ดินในเมืองพัทยาแบบเข้มเพื่อการอยู่อาศัย และเป็นแนวทางการศึกษาการขยายตัวของเมืองทางดิ่งประเภทหนึ่งด้วย วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจาก การค้นคว้ารวบรวมข้อมูลกราฟิกและข้อมูลตามลักษณะของปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับอาคารชุด ซึ่งอาคารชุดที่ศึกษานี้เป็นอาคารชุดพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นอาคารสูง และมีพื้นที่อาคารรวมไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร จากนั้นนำปัจจัยเหล่านั้นมาเข้าสู่ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์ศักย์เชิงพื้นที่ (Potential Surface Analysis, PSA) โดยการกำหนดค่าตามลักษณะของปัจจัยแต่ละตัว ด้วยค่าน้ำหนักและค่าคะแนนของปัจจัยตามมาตรา การประเมินที่ได้จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ศักย์เชิงพื้นที่ภายใต้ขีดความสามารถของโปรแกรม ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แยกเป็น 2 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ภายใต้โปรแกรม ArcView 3.2 a และการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันทุกปัจจัยด้วยเทคนิคการวางซ้อน (Overlay Technique) ภายใต้มอดูลกริด (Grid Module) ของโปรแกรม Arc/Info 7.2.1 เพื่อให้ได้ค่าคะแนนความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับอาคารชุดในเมืองพัทยา และนำมาจัดลำดับความเหมาะสมของพื้นที่ใน 3 ระดับคือ พื้นที่เหมาะสมมาก พื้นที่เหมาะสมปานกลางและพื้นที่เหมาะสมน้อย ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นที่เหมาะสมมากคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 33 ของพื้นที่เหมาะสมทั้งหมด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของตำบลนาเกลือ เป็นเขตพาณิชยกรรมและเป็นศูนย์กลางธุรกิจของชุมชน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ และบริเวณรอบอ่าวพัทยา พื้นที่เหมาะสมปานกลางคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 62 ของพื้นที่เหมาะสมทั้งหมด ครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกตำบลของเมืองพัทยายกเว้นตำบลห้วยใหญ่ โดยพบว่าเป็นบริเวณใกล้ชายหาดตั้งแต่อ่าวพัทยาใต้ลงมาถึงหาดจอมเทียน และบริเวณติดถนนสายหลักและสายรองในเมือง สำหรับพื้นที่เหมาะสมน้อยจะกระจายอยู่ทั่วไปทุกตำบลคิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 5 ของพื้นที่เหมาะสมทั้งหมด |
บรรณานุกรม | : |
ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . (2546). การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . 2546. "การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . "การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ . การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารชุดในเมืองพัทยา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|