ชื่อเรื่อง | : | ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวเขาในโครงการพัฒนาดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่า |
นักวิจัย | : | ลัดดาวัลย์ เพ่งชัด |
คำค้น | : | ชาวเขา -- ที่อยู่อาศัย , โครงการพัฒนาดอยตุง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ชวลิต นิตยะ , สุภางค์ จันทวานิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741721404 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5538 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 โครงการพัฒนาดอยตุงเป็นโครงการที่มีบทบาทในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวเขา โดยมีนโยบายพัฒนาที่อยู่อาศัย คือการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้มีพื้นที่อยู่อาศัยที่แน่นอน จากการจัดสรรดังกล่าว เป็นผลให้ขนาดพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยของแต่ละหมู่บ้านไม่เท่ากัน ชาวเขาเผ่าอาข่า "หมู่บ้านอีก้อป่ากล้วย" เป็นหมู่บ้านหนึ่งซึ่งได้รับการจัดสรรพื้นที่โดยโครงการฯ และด้วยลักษณะทางสังคมของชาวอาข่าเป็นระบบครอบครัวขยาย จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่อยู่อาศัย และการใช้พื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอย่างเห็นได้ชัด การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการที่อยู่อาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัยและการอยู่อาศัยในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าอาข่า เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกภาพวาด และภาพถ่าย เพื่อรวบรวมข้อมูลลักษณะทางกายภาพที่อยู่อาศัย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายหลังคาเรือนกรณีต้องการความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูล จากการศึกษาพบว่า ลักษณะที่อยู่อาศัยชาวเขาเผ่าอาข่าในปัจจุบัน มี 3 รูปแบบ คือ แบบดั้งเดิม แบบประยุกต์ และแบบสมัยใหม่ โดยบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านแบบประยุกต์ซึ่งเป็นบ้านที่ใช้วัสดุแบบผสมผสาน เป็นไปด้วยความจำเป็นและความจำกัดในวัสดุก่อสร้างที่ไม่สามารถผลิตในท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 82.92 ส่วนบ้านแบบสมัยใหม่เป็นบ้านที่มีการใช้วัสดุแบบถาวร เกิดจากค่านิยมในความทันสมัย ฐานะทางเศรษฐกิจ และการขาดแคลนวัสดุ คิดเป็นร้อยละ 13.42 และบ้านแบบดั้งเดิมมีเพียงร้อยละ 3.66 ที่ยังคงไว้ซึ่งการใช้วัสดุพื้นถิ่น มีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากการปรับปรุงและซ่อมแซม และเนื่องจากการขาดแคลนวัสดุแบบดั้งเดิม การเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างจึงให้ความสำคัญกับความแข็งแรงทนทานและประหยัดงบประมาณ มากกว่าความสวยงามและความอยู่สบาย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พื้นที่ภายในเรือน แบ่งได้ 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เรือนดั้งเดิมแบบครัวอยู่ในเรือน รูปแบบที่ 2 เรือนประยุกต์แบบขยายครัวไว้นอกบ้าน รูปแบบที่ 3 เรือนประยุกต์แบบต่อเติมห้องนอน รูปแบบที่ 4 เรือน 2 ชั้น เป็นเรือนที่พัฒนามาจากรูปแบบที่ 1 และรูปแบบที่ 5 เป็นเรือนที่มีการปรับเปลี่ยนผังเรือนไปจากรูปแบบดั้งเดิม ภายในอาณาเขตบ้านประกอบด้วยบ้านหลังเล็กซึ่งเป็นลักษณะการขยายตัวของเรือนตามความเชื่อดั้งเดิม และห้องน้ำซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายของโครงการพัฒนาดอยตุง สรุปลักษณะที่อยู่อาศัยชาวอาข่านั้นเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการจัดพื้นที่ใช้สอยยังคงมีความสัมพันธ์กับความเชื่อดั้งเดิมของเผ่า ลักษณะการอยู่อาศัยในปัจจุบันเป็นการประยุกต์วิถีชีวิตสมัยใหม่ร่วมกับวิถีชีวิตแบบเดิมตามความเคยชินจากอดีตที่ยังคงยึดหลักความเชื่อดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด ส่วนประเด็นปัญหาที่พบหลักๆ 5 หัวข้อ คือ 1.ข้อจำกัดด้านวัสดุ 2.พื้นที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ เนื่องจากการจำกัดของขอบเขตที่ดิน 3.ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ 4.ระบบเศรษฐกิจการเงิน และ 5.แรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียเอกลักษณ์พื้นถิ่นของชาวอาข่าไป ดังนั้น ข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาวอาข่าคือ การสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์รูปแบบที่อยู่อาศัยแบบดั้งเดิมให้คงอยู่และพื้นฟูเอกลักษณ์พื้นถิ่นที่สูญหายไปกลับคืนมา โดยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคนิคก่อสร้างดั้งเดิม รวมทั้งคิดค้น พัฒนาวัสดุดั้งเดิมโดยจัดสรรพื้นที่ปลูกหญ้าคาอันเป็นวัสดุที่สามารถปลูกทดแทนได้ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนวัสดุ จัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม โดยศึกษาจากวัฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มชาวเขาผู้อยู่อาศัยในการเลือกที่ตั้งหมู่บ้านและการกำหนดสัดส่วนแปลงที่ดิน เพื่อก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับรูปแบบวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีความเชื่อดั้งเดิม และประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง |
บรรณานุกรม | : |
ลัดดาวัลย์ เพ่งชัด . (2545). ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวเขาในโครงการพัฒนาดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดาวัลย์ เพ่งชัด . 2545. "ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวเขาในโครงการพัฒนาดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลัดดาวัลย์ เพ่งชัด . "ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวเขาในโครงการพัฒนาดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ลัดดาวัลย์ เพ่งชัด . ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวเขาในโครงการพัฒนาดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|