ชื่อเรื่อง | : | ประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera และสาหร่ายหนาม Acanthophora spicifera ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ในน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ |
นักวิจัย | : | อลิสา โชควิวัฒนวนิช |
คำค้น | : | สาหร่าย , กุ้งกุลาดำ -- การเพาะเลี้ยง , น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต , สรวิศ เผ่าทองศุข , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741305508 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5508 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ปัจจุบันมีผู้นิยมนำสาหร่ายช่อพริกไทย และสาหร่ายหนามมาใช้ในการบำบัดน้ำทิ้ง จากบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่สูง เนื่องจากสาหร่ายสามารถนำไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม และไนเตรทเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้โดยตรง งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย โดยวัดจากปริมาณออกซิเจนในน้ำที่สาหร่ายปลดปล่อยออกมาจาก กระบวนการสังเคราะห์แสงเมื่อให้แสงที่ความเข้มระดับต่างๆ ภายใต้สภาพแสงธรรมชาติและแสงจากโคมฮาโลเจน ผลการทดลองพบว่าสาหร่ายช่อพริกไทย และสาหร่ายหนามมีจุดอิ่มตัวที่ระดับความเข้มแสงประมาณ 15,000-20,000 ลักซ์ ต่อมาได้ศึกษาจลนพลศาสตร์ของการนำแอมโนเนียและไนเตรท เข้าสู่เซลล์ของสาหร่ายทั้งสองชนิดพบว่า ในส่วนของการนำแอมโมเนียเข้าสู่เซลล์ สาหร่ายช่อพริกไทยมีค่า Vmax = 0.0897 mgNH4+ -N/g(fw)/hr, Km = 18.5822 mgNH4+ -N/l ส่วนในสาหร่ายหนามมีค่า Vmax = 0.3406 mgNH4+ -N/g(fw)/hr, Km = 50.9554 mgNH4+ -N/l ในขณะที่การนำไนเตรทเข้าสู่เซลล์ของสาหร่ายช่อพริกไทยมีค่า Vmax = 0.0157 mgNO3- -N/g(fw)/hr, Km = 40.1094 mgNO4- -N/l ส่วนในสาหร่ายหนามมีค่า Vmax = 0.0425 mgNO3- -N/g(fw)/hr, Km = 90.0509 mgNO3- -N/l จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่าสาหร่ายหนามมีประสิทธิภาพ ในการนำแอมโมเนียมและไนเตรทเข้าสู่เซลล์ได้ดีกว่า สาหร่ายช่อพริกไทยและผลการทดลองยังแสดงให้เห็นอีกว่า สาหร่ายทั้งสองชนิดจะเลือกใช้สารประกอบไนโตรเจน ที่อยู่ในรูปของแอมโนเนียมก่อนไนเตรทเสมอ โดยไนเตรทมีความเข้มข้นสูงไม่มีผลยับยั้งการนำแอมโมเนียม เข้าสู่เซลล์ของสาหร่ายทั้งสองชนิด และเมื่อทดลองใช้สาหร่ายทั้งสองชนิด ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนในน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง พบว่าสาหร่ายทั้งสองชนิดจะลดปริมาณแอมโมเนียมในน้ำลงได้อย่างรวดเร็ว โดยชุดทดลองที่ให้แสงต่อเนื่องที่ระดับ 15,000 ลักซ์ จะได้ผลดีกว่าชุดทดลองที่ได้รับแสงธรรมชาติ และสาหร่ายหนามจะมีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโนเนียม ได้ดีกว่าสาหร่ายช่อพริกไทย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาจลนพลศาสตร์ข้างต้น |
บรรณานุกรม | : |
อลิสา โชควิวัฒนวนิช . (2543). ประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera และสาหร่ายหนาม Acanthophora spicifera ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ในน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อลิสา โชควิวัฒนวนิช . 2543. "ประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera และสาหร่ายหนาม Acanthophora spicifera ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ในน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อลิสา โชควิวัฒนวนิช . "ประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera และสาหร่ายหนาม Acanthophora spicifera ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ในน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. อลิสา โชควิวัฒนวนิช . ประสิทธิภาพของสาหร่ายช่อพริกไทย Caulerpa lentillifera และสาหร่ายหนาม Acanthophora spicifera ในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจน ในน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|