ชื่อเรื่อง | : | การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธ์พริกให้ต้านทานไวรัส |
นักวิจัย | : | กุลภรณ์ อันนานนท์ |
คำค้น | : | พริก , พริก -- การปรับปรุงพันธุ์ , พริก -- โรคและศัตรู , พืช -- ความต้านทานไวรัส , โรคพืช , อุตสาหกรรมพริก , พริก -- แง่เศรษฐกิจ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9743469648 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5411 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปอุตสาหกรรมพริกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรมพริกแห้งและพริกป่น อุตสาหกรรมซอสพริก และอุตสาหกรรมน้ำพริก และศึกษาถึงผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสทางด้านการผลิตและการบริโภคภายใต้กรอบแนวคิดและข้อสมมติ การศึกษาสภาพทั่วไปอุตสาหกรรมพริกและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้ทำการวิเคราะห์สมการอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ซึ่งพบว่าความต้องการพริกในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากความต้องการบริโภคโดยตรงและความต้องการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาผลกระทบจากการปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสทางด้านการผลิต พบว่า การปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสจะทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของเกษตรลดลง ขณะที่ผลิตภาพซึ่งได้จากการวิเคราะห์สมการการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบทางด้านการบริโภคหรือการใช้พริกได้จำแนกการศึกษาเป็น 2 แนวทาง คือ กรณีที่ไม่มีกระแสการต่อต้านสินค้าดัดแปลงหรือตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) และกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกี่ยวกับกระแสการต่อต้านสินค้า GMOs ผลการศึกษาในแนวทางแรกพบว่า อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจะมีต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งอุตสาหกรรมพริกแห้งจะได้รับประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ประเทศไทยยังสามารถลดปริมาณการนำเข้าพริกแห้งได้บางส่วน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังตลาดบางแห่งได้ อาทิเช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์สำหรับพริกสด สหรัฐอเมริกาสำหรับซอสพริก โดยใช้กลยุทธ์ทางราคา และการปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานไวรัสเป็นทางเลือกหนึ่งของการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอแก่ความต้องการในอนาคต ส่วนผลการศึกษาในแนวทางที่ 2 ที่ทำการพิจารณาความต้องการบริโภคสินค้า GMOs ของผู้บริโภคในประเทศและประเทศคู่ค้าที่สำคัญในแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า สินค้าที่ใช้พริกที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยไม่ใช้เทคนิคการถ่ายยีน (non-GMOs) จะไม่ได้รับการคัดค้าน ขณะที่ความต้องการบริโภคสินค้าที่ใช้พริกที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้เทคนิคการถ่ายยีน (GMOs) ของผู้บริโภคในประเทศยังไม่ชัดเจน ส่วนผู้บริโภคในต่างประเทศนั้น ไทยจะหมดโอกาสในการส่งออกไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์และอังกฤษ การศึกษานี้มิได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค นอกจากนั้นผลการศึกษานี้อยู่บนพื้นฐานของการประมาณการ และใช้ข้อมูลจากพริกพันธุ์เก่าภายใต้ข้อสมมติจำนวนมาก ฉะนั้นหากจะนำผลการศึกษานี้ไปปรับใช้จึงต้องพิจารณาปรับใช้อย่างเหมาะสมและใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ |
บรรณานุกรม | : |
กุลภรณ์ อันนานนท์ . (2543). การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธ์พริกให้ต้านทานไวรัส.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กุลภรณ์ อันนานนท์ . 2543. "การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธ์พริกให้ต้านทานไวรัส".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กุลภรณ์ อันนานนท์ . "การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธ์พริกให้ต้านทานไวรัส."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. กุลภรณ์ อันนานนท์ . การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากการปรับปรุงพันธ์พริกให้ต้านทานไวรัส. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|