ชื่อเรื่อง | : | การสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตไชน่าทาวน์ |
นักวิจัย | : | เอมอร ชลพิไลพงศ์ |
คำค้น | : | เอกลักษณ์ชาติพันธุ์ , การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม , การสื่อสารระหว่างบุคคล , สังคมประกิต , ชาวจีน -- ไทย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741732864 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5459 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาการสื่อสารของชาวจีนในการถ่ายทอดวัฒนธรรมระหว่างรุ่นต่อรุ่น และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลการศึกษาจากครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิก 3 รุ่น จำนวน 10 ครอบครัวในย่านไชน่าทาวน์ โดยรุ่นแรกจะต้องอพยพมาจากประเทศจีน ใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาในแนวชาติพันธุ์วิทยาและการสัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับประวัติครอบครัว และวัฒนธรรมจีนต่างๆ ในด้านภาษาและปัจจัย 4 ผลการศึกษามีดังนี้ รูปแบบในการสื่อสารของชาวจีนในไชน่าทาวน์ มี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบเป็นกิจจะลักษณะ (การสื่อสารโดยตรง) โดยชาวจีนรุ่นแรกจะใช้วิธีการพูด บอก หรือสอนโดยตรง เพื่อให้ลูกหลานได้รับรู้วัฒนธรรมจีนด้านต่างๆ อีกรูปแบบที่ชาวจีนรุ่นแรกใช้ก็คือ การสื่อสารแบบไม่เป็นกิจจะลักษณะ (การสื่อสารโดยอ้อม) เป็นการสื่อสารโดยไม่ได้ตั้งใจจะสื่อสาร เป็นการทำซ้ำบ่อยๆ หรือบางครั้งก็ไม่มีการสื่อสารใดๆ แต่ลูกหลานเกิดกระบวนการเรียนรู้จนสามารถรับรู้วัฒนธรรมจีนต่างๆ ได้เองในที่สุด โดยครอบครัวกลุ่มตัวอย่างแต่ละครอบครัวเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร ประกอบไปด้วย ปัจจัยภายใน ดังนี้ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ลักษณะนิสัยของสมาชิกภายในครอบครัว และเวลาในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยภายนอก มีดังนี้ เพื่อนหรือโรงเรียน สื่อมวลชน และสมาคมต่างๆ นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐ และนโยบายของรัฐ ก็มีส่วนต่อการสื่อสารเช่นกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนไม่มากก็น้อย |
บรรณานุกรม | : |
เอมอร ชลพิไลพงศ์ . (2545). การสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตไชน่าทาวน์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอมอร ชลพิไลพงศ์ . 2545. "การสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตไชน่าทาวน์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอมอร ชลพิไลพงศ์ . "การสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตไชน่าทาวน์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. เอมอร ชลพิไลพงศ์ . การสื่อสารเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของชาวจีนในเขตไชน่าทาวน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|