ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาวิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่เพื่อออกแบบวิหารวัดโลกโมฬี |
นักวิจัย | : | ธีรยุทธ อินทจักร์ |
คำค้น | : | วัดโลกโมฬี , วิหารพุทธศาสนา -- ไทย -- เชียงใหม่ , ศิลปกรรมไทย -- สกุลช่างเชียงใหม่ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี , ภิญโญ สุวรรณคีรี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741797761 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5452 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษารูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของวิหารในวัฒนธรรมล้านนาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาแนวความคิดในการสร้างสรรค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ กรณีศึกษาวิหารวัดโลกโมฬี ซึ่งเคยเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองเชียงใหม่ การศึกษาได้สำรวจหาหลักฐานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และเลือกตัวอย่างวิหารที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 10 หลัง ทั้งนี้พิจารณาจากรูปแบบและอายุสมัยในการสร้างและการบูรณะ ประมาณช่วงก่อน พ.ศ. 2426 อันเป็นช่วงก่อนที่อิทธิพลทางรูปแบบสถาปัตยกรรม จากวัฒนธรรมทางภาคกลางจะแพร่หลายเข้ามา วิทยานิพนธ์นี้ใช้การศึกษาเชิงสถาปัตยกรรมควบคู่ไปกับการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ผลของการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบว่า วิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเกิดขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 24 รูปแบบส่วนหนึ่งเป็นรูปแบบที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ และส่วนหนึ่งเป็นลักษณะที่คลี่คลายต่อเนื่องมาจากกลุ่มวิหารล้านนาสกุลช่างลำปาง ซึ่งเป็นกลุ่มวิหารที่มีอายุราวๆ พุทธศตวรรษที่ 21-22 เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของวิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่ ที่พบมีดังนี้คือ วิหารมักเป็นอาคารประธานในผัง ผังพื้นวิหารมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีการยกเก็จหน้าหลัง โดยนิยมที่การยกเก็จด้านหน้า 2 ครั้งด้านหลัง 1 ครั้ง วิหารตั้งอยู่บนฐานสูง เป็นวิหารทึบที่มีการทำผนัง และเจาะช่องหน้าต่าง โครงสร้างส่วนหลังคาของวิหารเป็นโครงสร้างแบบดั้งเดิมคือใช้ ระบบเสา คานที่เรียกว่า โครงสร้างม้าตั่งไหม วิหารมีรูปทรงที่สูงเพรียว อ่อนช้อยมากกว่ารูปแบบของวิหารล้านนาสกุลช่างอื่นๆ การใช้ลวดลายประดับตกแต่งส่วนใหญ่มาจากแนวความคิดเกี่ยวกับ การคุ้มครองศาสนสถาน ภพภูมิทางพุทธศาสนา การเป็นสถานที่อันระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การเฉลิมฉลอง และความเป็นสิริมงคลของวิหาร |
บรรณานุกรม | : |
ธีรยุทธ อินทจักร์ . (2545). การศึกษาวิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่เพื่อออกแบบวิหารวัดโลกโมฬี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรยุทธ อินทจักร์ . 2545. "การศึกษาวิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่เพื่อออกแบบวิหารวัดโลกโมฬี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรยุทธ อินทจักร์ . "การศึกษาวิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่เพื่อออกแบบวิหารวัดโลกโมฬี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. ธีรยุทธ อินทจักร์ . การศึกษาวิหารล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่เพื่อออกแบบวิหารวัดโลกโมฬี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|