ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน |
นักวิจัย | : | สุธีรา ตังสวานิช |
คำค้น | : | การศึกษาทางไกล , การวางแผนหลักสูตร , การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , การพัฒนาบุคลากร , สถาบันการเงิน , ธนาคารและการธนาคาร , สถาบันอุดมศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุชาติ ตันธนะเดชา , ชาติชาย ศรีรัศมี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9741770928 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5390 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความพร้อม และความต้องการในการศึกษาทางไกลของพนักงานสถาบันการเงินภาคธนาคาร 2) พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน 3) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงานตามแนวคิดองค์กรในอนาคต 4) ประเมินรูปแบบความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 504 คน คือ ผู้บริหารระดับสูง กลาง และระดับปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินรูปแบบความร่วมมือ แบบประเมินบทเรียนด้านการออกแบบบทเรียนและเนื้อหา วิธีดำเนินการวิจัยคือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความพร้อม และความต้องการในการศึกษาทางไกล โดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง 2) ศึกษา/วิเคราะห์เอกสารทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดองค์กรในอนาคตของ Mitroff, Mason and Pearson (1994) ทฤษฎีและแนวคิดกระบวนการสร้างพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและวิธีการเรียนการสอนทางไกลเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักการ M-ALERT เพื่อเป็นแนวคิดในการพิจารณาจัดรูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกล โดยการสังเคราะห์เอกสาร 3) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางไกลจำนวน 6 รายวิชา 4) พัฒนาเนื้อหารายวิชาแนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (Globalism) เป็นบทเรียนทางอินเทอร์เน็ต 5) ตรวจสอบและประเมินบทเรียนทางอินเทอร์เน็ตรายวิชาแนวคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (Globalism) โดยผู้เชี่ยวชาญ 6) ทดลองเรียนทางไกล โดยพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คน 7) ตรวจสอบและประเมินรูปแบบความร่วมมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สถาบันการเงินภาคธนาคารยังไม่ได้จัดการเรียนการสอนทางไกลอย่างเต็มรูปแบบ 2) ปัญหาและความต้องการ คือ ขาดหลักสูตรที่เน้นความรู้เรื่องที่สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ และมีความต้องการความรู้ดังกล่าว 3) ความพร้อม ได้แก่ พนักงานสามารถเลือกเวลาเรียนเวลาใดก็ได้ ด้วยตนเอง (Self-study) 4) รูปแบบความร่วมมือในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกล จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ การว่าจ้าง (Outsourcing) การเลือกใช้บริการ (Shopping) การร่วมลงทุนพัฒนา (Matching) 5) พัฒนาหลักสูตรการศึกษาทางไกล 6 รายวิชาและพัฒนาสาระวิชา Globalism 1 สาระวิชาเป็นตัวอย่างในการพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษาทางไกลที่ครบวงจร 6) พัฒนาเนื้อหาวิชา Globalism เป็นบทเรียนทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรม Blackboard 7) ผลการทดลองเรียนเนื้อหารายวิชา Globalism พบว่าการเรียนให้ความยืดหยุ่นกับผู้เรียน สบายใจ ตรงตามวัตถุประสงค์ นำความรู้มาใช้ประโยชน์กับการทำงานได้โดยตรงมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนกับผู้สอนได้ดี สามารถค้นคว้าเพิ่มเติม เรียนก่อน หลังเวลางานได้อย่างสะดวก ซึ่งเป็นการเน้นการเรียนแบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) |
บรรณานุกรม | : |
สุธีรา ตังสวานิช . (2547). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุธีรา ตังสวานิช . 2547. "การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุธีรา ตังสวานิช . "การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. สุธีรา ตังสวานิช . การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินภาคธนาคารกับมหาวิทยาลัยของรัฐในการจัดหลักสูตรการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาพนักงาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|