ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและนำไปปฏิบัติในการติดตามจุดเปลี่ยนในระบบยาผู้ป่วยใน |
นักวิจัย | : | ฉันทิกา ซื่อตรง |
คำค้น | : | ยา -- การบริหาร , เภสัชกรรมของโรงพยาบาล , โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อภิฤดี เหมะจุฑา , สุวรรณี เจริญพิชิตนันท์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2548 |
อ้างอิง | : | 9741418523 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5256 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างกระบวนการประสานรายการยาและนำไปใช้เมื่อเปลี่ยนระดับการรักษา 3 สถานการณ์ในระบบยาผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นกระบวนการในการทบทวนและสร้างบัญชีรายการยาปัจจุบัน ที่ผู้ป่วยได้รับก่อนเปลี่ยนระดับการรักษาเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการยาแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ประเมินผลโดยการเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบ เมื่อเปลี่ยนระดับการรักษาระหว่ากลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม วิธีการศึกษา: หลังจากทดสอบกระบวนการหนึ่งเดือนและนำไปใช้ในการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม ชนิดมีกลุ่มควบคุม เพื่อประเมินผลความคลาดเคลื่อนทางยา ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง ศัลยกรรมหญิง และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลิดสิน ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2548 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2549 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ 234 ราย (กลุ่มศึกษา 117 ราย และกลุ่มควบคุม 117 ราย) เก็บข้อมูลเมื่อเปลี่ยนระดับการรักษาในขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่ ส่งต่อและจำหน่าย ผลการศึกษา: กลุ่มศึกษา มีความคลาดเคลื่อนทางยาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในการรับผู้ป่วยใหม่และจำหน่าย ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง 79.8% จาก 121.6 ครั้ง ต่อการรับการผู้ป่วย 100 ครั้ง เหลือ 24.5 ครั้ง ต่อการรับการผู้ป่วย 100 ครั้ง ผู้ป่วย 2 ใน 3 ของกลุ่มศึกษา (62.7%) มีคำสั่งใช้ยาที่คลาดเคลื่อนเมื่อรับผู้ป่วยใหม่และได้รับการแก้ไข ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาผู้ป่วยในของกลุ่มศึกษาเฉลี่ย 7.47 รายการต่อ 1,000 วันนอน เมื่อเทียบกับ 21.39 รายการต่อ 1,000 วันนอนของกลุ่มควบคุม ซึ่งความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบ ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่เคยใช้ก่อนเปลี่ยนระดับการรักษา รองลงมาคือการได้รับยาผิดขนาด สรุปผลการศึกษา: การใช้ระบบการประสานรายการยาในระบบยาผู้ป่วยใน มีผลลดการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาเมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนระดับการรักษา |
บรรณานุกรม | : |
ฉันทิกา ซื่อตรง . (2548). การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและนำไปปฏิบัติในการติดตามจุดเปลี่ยนในระบบยาผู้ป่วยใน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉันทิกา ซื่อตรง . 2548. "การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและนำไปปฏิบัติในการติดตามจุดเปลี่ยนในระบบยาผู้ป่วยใน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉันทิกา ซื่อตรง . "การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและนำไปปฏิบัติในการติดตามจุดเปลี่ยนในระบบยาผู้ป่วยใน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. Print. ฉันทิกา ซื่อตรง . การพัฒนากระบวนการประสานรายการยาและนำไปปฏิบัติในการติดตามจุดเปลี่ยนในระบบยาผู้ป่วยใน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548.
|