ชื่อเรื่อง | : | การศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | จาริณี จันทร์ศรี |
คำค้น | : | การจูงใจ (จิตวิทยา) , การจูงใจในการศึกษา , พฤติกรรมการเรียน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุมิตรา อังวัฒนกุล , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2543 |
อ้างอิง | : | 9741313764 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5249 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 ศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจในกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งประกอบด้วย กลวิธี 5 ด้าน ได้แก่ กลวิธีในการสร้างความสนใจ กลวิธีในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างบทเรียนกับผู้เรียน กลวิธีในการสร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่ผู้เรียน กลวิธีในการสร้างความพึงพอใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน และกลวิธีในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และเพื่อศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างประชากรเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้กลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละของการใช้กลวิธีที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้กลวิธีสร้างแรงจูงใจในกระบวนการเรียนการสอน ในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในแต่ละระดับชั้น และรวมทุกระดับชั้น ที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ กลวิธีในการสร้างความสนใจ รองลงมา คือ กลวิธีในการสร้างความพึงพอใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน กลวิธีในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างบทเรียนกับผู้เรียน กลวิธีในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และกลวิธีในการสร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่ผู้เรียน ตามลำดับ ทั้งนี้ ครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 มีพฤติกรรมการใช้กลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนทั้ง 5 ด้าน มากที่สุด รองลงมา คือ ครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 และครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ตามลำดับ 2. การใช้กลวิธีสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน ของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ การตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ รองลงมา คือ การให้ผู้เรียนจัดป้ายนิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และวันสำคัญต่างๆ ของเจ้าของภาษา การจัดมุมหนังสือ และเอกสารอื่นๆ ไว้ให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิชาภาษาอังกฤษ และการจัดแสดงผลงานของผู้เรียน ตามลำดับ ทั้งนี้ ครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 มีพฤติกรรมการใช้กลวิธีสร้างแรงจูงใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน มากที่สุด รองลงมา ค่อ ครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 และครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
จาริณี จันทร์ศรี . (2543). การศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จาริณี จันทร์ศรี . 2543. "การศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จาริณี จันทร์ศรี . "การศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. Print. จาริณี จันทร์ศรี . การศึกษากลวิธีสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียนของครูภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
|