ชื่อเรื่อง | : | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ สำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน |
นักวิจัย | : | วุฒิพล สกลเกียรติ |
คำค้น | : | การศึกษานอกระบบโรงเรียน , การศึกษาผู้ใหญ่ , การฝึกอบรม , แรงงาน , อุตสาหกรรมยานยนต์ -- ลูกจ้าง , อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- ลูกจ้าง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อาชัญญา รัตนอุบล , วิกร ตัณฑวุฑโฒ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741744293 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5221 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ ปัจจัยในการจัดการเรียนรู้ ทักษะที่จำเป็นและขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณประกอบเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มพนักงานสายการผลิตและกลุ่มผู้จัดการเรียนรู้และผู้เกี่ยวข้อง ในบริษัทที่เป็นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จำนวน 2 แห่ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตีความ สรุปและร่างรูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและพิจารณาความเป็นไปได้ ในการนำไปใช้จริงในสถานประกอบการและสรุปเพื่อนำเสนอรูปแบบ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ 1. ปัจจัยในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายนอกสถานประกอบการ (ลูกค้าบริษัท บริษัทคู่แข่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา กฎหมาย มาตรฐานฝีมือแรงงาน) สภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการ (นโยบายและการสื่อสาร สหภาพแรงงานสัมพันธ์ วัฒนธรรมองค์กร การวิจัยและพัฒนา การจูงใจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้) งาน (การเปลี่ยนแปลงลักษณะงานและการทำงาน การปรับระบบการทำงาน การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงาน) และผู้ใช้แรงงาน (ความสามารถในการปฏิบัติงานประจำ การสร้างทักษะที่จำเป็น ปัญหาลูกจ้างรายวัน) 2. ทักษะที่จำเป็นทั้ง 5 กลุ่ม (การทำงานประจำ การจัดการ การทำงานภายใต้สภาพแวดล้อม การเรียนรู้ในสถานประกอบการ และการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน) รวมทั้งทักษะที่เพิ่มเติมคือ การทำงานหลากหลาย การสอนและเป็นผู้สอนที่ดี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาและมนุษย์สัมพันธ์ มีจิตสำนึกและสมาธิในการทำงาน การวางแผนควบคุมการผลิต การแก้ปัญหาด้วยตนเอง จริยธรรม ความยืดหยุ่นในการทำงาน เรียนรู้ตลอดชีวิตและใช้สื่อการเรียนรู้ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การทำงานเป็นทีมกิจกรรมกลุ่มย่อย 3. ขั้นตอนการจัดการฝึกอบรมทักษะ ได้แก่ (1) วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น (2) วิเคราะห์งานและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการวัดผลความสามารถในการปฏิบัติงาน (3) ทำความเข้าใจ พิจารณาความสำคัญและบ่งชี้สาเหตุของช่องว่างที่เกิดขึ้น (4) คัดเลือกกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขช่องว่างที่เกิดขึ้นจากสาเหตุการขาดทักษะเป็นหลัก (5) ประเมินความน่าจะเป็นในการนำกลยุทธ์ไปใช้และสร้างแผนปฏิบัติการ (6) นำกลยุทธ์ไปใช้เพิ่มความสามารถหรือประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน (7) วัดและประเมินผลที่เกิดระหว่างและหลังการนำไปใช้ป้อนข้อมูลกลับไปขั้นที่ 1 |
บรรณานุกรม | : |
วุฒิพล สกลเกียรติ . (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ สำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วุฒิพล สกลเกียรติ . 2546. "การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ สำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วุฒิพล สกลเกียรติ . "การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ สำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. วุฒิพล สกลเกียรติ . การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ สำหรับผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|