ชื่อเรื่อง | : | แนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทย |
นักวิจัย | : | ชลธิษฐ์ ถนัดศิลปกุล |
คำค้น | : | การระบายอากาศ , การออกแบบสถาปัตยกรรม , ปล่องระบายอากาศ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ธนิต จินดาวณิค , อรรจน์ เศรษฐบุตร , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741742932 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5202 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 เสนอแนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศ เพื่อปรับสภาวะน่าสบายภายในอาคาร สำหรับบ้านพักอาศัยขนาดกลางในประเทศไทย โดยศึกษาผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ CFD (Computational Fluid Dynamics) วิธีดำเนินการศึกษาในเบื้องต้นมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ และความเร็วลมจากบ้านพักอาศัยกรณีศึกษาขนาด 4 ห้องนอน เพื่อเปรียบเทียบกับผลการจำลองสภาพที่ได้จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และปรับให้ถูกต้อง แล้วจึงนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการศึกษาการออกแบบปล่องระบายอากาศ โดยการทดสอบปล่องระบายอากาศแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ไม่มีผลกระทบจากความร้อนภายในห้องใต้หลังคา กับมีผลกระทบจากความร้อนภายในห้องใต้หลังคา และในแต่ละกรณียังแบ่งการศึกษาออกเป็นกรณีย่อยอีกอย่างละ 6 รูปแบบ หลังจากนั้นจึงนำรูปแบบของปล่องระบายอากาศที่มีความเหมาะสมที่สุด ไปประยุกต์เพื่อการใช้งานจริง และประเมินผลประสิทธิภาพหลังจากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแล้ว ทั้งในกรณีที่ภายนอกอาคารมีลมและไม่มีลม ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาที่ไม่มีลม และไม่มีผลของการระบายอากาศแบบพัดผ่านตลอด ผลของปล่องระบายอากาศจะช่วยให้ปริมาณการแลกเปลี่ยนอากาศต่อชั่วโมง ภายในโถงอาคารชั้น 1 เพิ่มขึ้นจาก 0.07 ACH เป็น 1.76 ACH หรือประมาณ 25 เท่า และปริมาณการแลกเปลี่ยนอากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอีก ถ้ามีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบบ้านให้มีอุณหภูมิลดต่ำลง ส่วนในเรื่องของระดับความเร็วลมภายในอาคารนั้นจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม การออกแบบให้มีการระบายอากาศตามธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด จะต้องประกอบไปด้วยทั้งการระบายอากาศผ่านทางปล่องระบายอากาศ และการระบายอากาศลักษณะที่เป็นการพัดผ่านตลอด เพราะจากการทดสอบชี้ให้เห็นว่า แม้ภายนอกอาคารจะมีลม แต่ไม่มีการระบายอากาศแบบพัดผ่านตลอด มีแต่เพียงการระบายอากาศผ่านทางปล่องระบายอากาศ ก็ไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์ทางด้านการปรับเย็นให้กับอาคาร |
บรรณานุกรม | : |
ชลธิษฐ์ ถนัดศิลปกุล . (2546). แนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลธิษฐ์ ถนัดศิลปกุล . 2546. "แนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลธิษฐ์ ถนัดศิลปกุล . "แนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ชลธิษฐ์ ถนัดศิลปกุล . แนวทางการออกแบบปล่องระบายอากาศสำหรับบ้านพักอาศัยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|